สูตรที่เคลลี่ค้นพบนั้น ในเวลาต่อมามันถูกเรียกอย่างง่ายๆว่า Kelly Formula และมันก็ได้กลายเป็นสิ่งที่จุดประกายความคิดให้กับบรรดาสุดยอดนักเก็งกำไรตามแนวโน้ม หรือนักเก็งกำไรตามระบบทั้งหลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยที่พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากห้องแลบของเบล ในการที่จะพัฒนาระบบในการที่จะตัดสินใจหาขนาดของการเดิมพันที่เหมาะสมในแต่ละครั้งขึ้นมา (หรือเรียกอีกอย่างว่าหลักการบริหารเงินทุน Money Management นั่นเอง)
พอดีวันนี้กะจะอัพเดทหน้าต่าง Trading Wisdom ในเวบเสียหน่อย ผมนำเอาวาทะคำคมจากเซียนหุ้นหลายๆคนมาฝากกัน เรามาดูกันว่าบรรดาเซียนหุ้นระดับโลกอย่างนี้ เขามีทัศนะต่อการเล่นหุ้นและการควบคุมความเสี่ยงของพวกเขาอย่างไรกันบ้างดีกว่าครับ
เมื่อคุณมองไปที่ระบบการลงทุนใดๆก็ตาม คุณควรที่จะมองผลกำไร-ขาดทุนที่เกิดขึ้นของมัน ในแง่ของค่า “R-Multiples” แทน ซึ่งเมื่อคุณสามารถทำได้อย่างนั้น จงถามตัวคุณเองว่า “ค่าเฉลี่ยของค่า R ที่เกิดขึ้นจากระบบนี้ (Expectancy) อยู่ที่เท่าไหร่?” โดยหากว่ามันมีค่าที่เป็นบวก นั่นแปลว่าระบบการลงทุนที่คุณกำลังวิเคราะห์อยู่นั้นอาจจะสามารถทำกำไรในระยะยาวให้คุณได้นั่นเอง
หลังจากที่เริ่มมีเพื่อนๆบางท่านที่สนใจและอีเมล์มาคุยเรื่อง Money Management กับผมโดยอยากให้ทำการอัพเดทบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะขึ้น ผมจึงขอนำบทความต่อเนื่องในเรื่องของ Risk Management ตอนที่สองและตอนต่อๆไปมาทยอยลงต่อกันนะครับ
George Lane นั้นบอกกับเราว่าเขารู้สึกว่าตนเองโชคดีมากๆ ที่ได้รู้จักกับตลาดและเรียนรู้เกี่ยวกับมันในช่วงเวลาที่เขาบอกว่า “ตลาดและสิ่งต่างๆยังคงเรียบง่ายอยู่” โดยในช่วงเริ่มต้นของการเก็งกำไรนั้น Lane ได้ตั้งคำถามในใจอยู่ตลอดเวลาว่า “มันต้องมีอะไรสักอย่าง อยู่ทีไหนสักแห่ง” ที่จะช่วยเขาในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการเก็งกำไรได้ นอกจากเพียงการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น
มักจะมีคำถามที่ว่า การควบคุมความเสี่ยง หรือการใช้ Money Management นั้นมีความสำคัญขนาดไหนในการลงทุน และมีหลายๆคนอยากรู้ว่าการใช้กับไม่ใช้นั้นให้ผลที่ต่างกันแค่ไหน วันนี้ผมนำบทความดีๆของ Ed Seykota และ Dave Druz มาฝากให้อ่านกันครับ คิดว่าน่าจะทำให้หลายๆคนหายข้องใจ และเริ่มสนใจในการใช้ Money Management อย่างจริงจังกันขึ้นมานะครับ