fbpx
จิตวิทยาการลงทุน

อย่าด่วนสรุปผลการลงทุนของคุณ!

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

พอดีผมกำลังนั่งปั่น Slide สำหรับการบรรยายพิเศษเรื่อง Money Managmenet ให้กับกลุ่มผู้ที่ร่วมทำบุญซ่อมแซมวัดของทาง Chaloke.com อยู่ เห็นว่าเรื่องนี้นำมาพูดได้ในหลายๆมิติก็เลยเอามาแปะลงในบล็อกเรียกน้ำย่อยกันสักหน่อย ^o^ วันนี้ก็เลยอยากจะพูดถึงโรคยอดฮิตซึ่งมักทำให้หลายๆคนหลงผิดในตลาดหุ้นกันมานักต่อนัก โดยโรคนี้มักทำให้หลายคนมั่นใจจนเกินไปหรือไม่ก็อาจถอดใจก่อนเวลาอันควร … ซึ่งนั่นก็คือโรคด่วนสรุปนั่นเองครับ!

โรคด่วนสรุปและภาพลวงตาในระยะสั้น

ผมเคยพูดอยู่เป็นประจำว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือ Technical Analysis คือเรื่องของความน่าจะเป็นภายใต้ผลการเทรดจำนวนมากเป็น 100 เป็น 1,000 ครั้ง และไม่อาจรับประกันได้ว่าผลการเทรดในแต่ละครั้งของคุณจะเป็นไปอย่างไร (เราอาจรู้ Prob แต่ไม่รู้ Sequence ในอนาคต) หลายคนที่ไม่เชื่อและไม่เข้าใจก็จะพยายามหา Holy Grail กันต่อไป ส่วนบางคนก็อาจคิดว่าเขาได้พบกับ Holy Grail เรียบร้อยในช่วงเวลาที่พึ่งผ่านมาก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ก็มักที่จะเป็นแค่ภาพลวงตาในช่วงเวลาสั้นๆเพียงเท่านั้น …

ทำไมน่ะหรือครับ??

เหตุผลก็คืออัตราส่วนต่างๆของจากระบบการลงทุนของคุณไม่ว่าจะเป็น %Win-%Loss, Pay-off, Dradown หรืออื่นๆนั้นเป็นเพียงค่าที่ถูกวัดออกมาจากอดีต และมักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในช่วงเวลาสั้นๆ!! (แน่นอนว่าในช่วงขาขึ้นที่ผ่านมาอะไรก็มักจะดูดีไปหมด)

ถามว่าสั้นแค่ไหน? … ถ้าตอบแบบไม่เกรงใจคนส่วนใหญ่ก็ต้องบอกว่าถ้าข้อมูลเชิงสถิติจากระบบจะเริ่มนิ่งก็เป็นร้อยๆเทรดเลยทีเดียว (อาจกินเวลาถึง 3-4 ปีเป็นอย่างน้อย) หากน้อยกว่านั้นแล้วคุณมีสิทธิที่จะโดนตลาดหลอก … หรือไม่ก็หลอกตัวเองอยู่นั่นเองครับ

เอาล่ะลองมาดูตัวอย่างกันบ้างดีกว่าจะได้เห็นภาพชัดๆ

image

อยู่ในตลาดหุ้นต้องรู้จักมองยาวๆ … และใจเย็นๆ

สิ่งที่คุณเห็นอยู่คืออัตราความแม่นยำจากระบบ Turtle 2 Simplify ซึ่งเป็นระบบการลงทุนในระยะกลางในรูปแบบของการ Breakout และ Breakdown ในการให้สัญญาณซื้อขาย

โดย

– เส้นสีน้ำเงินคำนวณจากจำนวนการซื้อ-ขาย 30 เทรดย้อนหลัง

– ส่วนเส้นสีแดงคำนวณนับจากจำนวนการเทรดสะสมตั้งแต่เริ่มเทรดมาเรื่อยๆ (Cumulative Since First Trade)

ในระยะสั้นๆแล้วการผันผวนของอัตราส่วนต่างๆเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปตามการ Sync ลงรอยกันระหว่างระบบและตลาด ถ้ามันลงรอยกันมากๆกำไรและค่าอัตราส่วนก็จะดีขึ้นมา แต่ถ้าไม่ลงรอยกันอัตราส่วนต่างๆก็จะค่อยๆแย่ลงไปและเกิดการขาดทุนขึ้น ข่าวร้ายก็คือไม่มีใครจะรู้ได้อย่างแน่นอนว่าพวกมันจะลงรอยกันเมื่อไหร่และมากแค่ไหน ส่วนข่าวดีก็คือในระยะยาวแล้วพวกมันมักจะมีค่านิ่งๆอยู่ในขอบเขตหนึ่ง จนทำให้คุณพอที่จะคาดการณ์และวางแผนการลงทุนของคุณให้เหมาะสมกับระบบได้ (ทั้ง Trading System และ MM)

สำหรับภาพตัวอย่างนั้น คุณจะสังเกตุได้ว่าเส้น Winning Ratio สีน้ำเงินนั้นจะ Swing ไปมาอยู่เสมอในแต่ละปีอยู่ในช่วงระหว่างค่า 20% – 60% เลยทีเดียว ส่วน Cumulative Winning Ratio นั้นจะเริ่มคงที่ลงเมื่อผ่านไปประมาณ 4 ปีที่ประมาณ +-40% (พอๆกับที่เราเคยเรียนรู้กันมาสำหรับระบบ Trend Following)

สิ่งเหล่านี้กำลังบอกกับคุณอย่างชัดเจนว่า … คุณไม่ควรและไม่สามารถที่จะตัดสินผลการลงทุนของคุณภายในช่วงเวลาสั้นๆเลยแม้แต่น้อย!! และไม่ว่าคุณจะพยายามวัดผลการลงทุนหรือประสิทธิภาพจากระบบการลงทุนของคุณออกมาในรูปแบบใด (ไม่ว่าจะเป็นการ Backtesting, Walk Forward หรือ Paper Test) จงทำให้แน่ใจว่าคุณได้ประเมิณสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจากระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพออยู่เสมอ

ลองถามตัวเองดูว่า ก่อนที่จะสรุปว่าสิ่งไหนใช้ได้หรือไม่ได้นั้นคุณประเมิณมันจากช่วงเวลาหรือจำนวนการซื้อขายที่มากเพียงพอหรือไม่ และอย่ามั่นใจในสิ่งที่พึ่งผ่านมาจนเกินไป เพราะช่วงเวลาสั้นๆเพียงแค่ไม่กี่วัน, ไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีนั้นอาจไม่เพียงพอสักเท่าไหร่

มองยาวๆ ใจเย็นๆ … และอย่ารีบด่วนสรุปครับ ^_^

ปล. ช่วงนี้ถ้าผมตอบ Comment, Q&A หรือ FB ช้าต้องขออภัยด้วยนะครับ พยายามตั้งสมาธิเรียบเรียงและปั่น Slide ให้ทันบรรยายวันอาทิตย์หน้าอยู่ครับ แหะๆ ^o^ (แต่ไม่ต้องห่วงครับทันและสนุกแน่นอน อิอิ)

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)