fbpx

หลังจากที่ในคราวก่อน ผมได้แนะนำถึงตัวคัดกรองหุ้นนำตลาด (Leading Stock) ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดตัวหนึ่งให้ได้รู้จักกันไปแล้ว นั่นก็คือค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์ หรือ Relative Price Strength ผมจึงนำสูตรที่ผมเขียนไว้เบื้องต้นมาแบ่งปัน ให้กับเพื่อนๆชาวแมงเม่าคลับทุกๆคนที่ใช้โปรแกรม Metastock ได้นำไปลองใช้กันครับ

บทความชิ้นนี้จะสรุปถึงผลการวิจัยและหลักฐานการทดลองเกี่ยวกับค่า Relative Strength จากที่ต่างๆ และแนวทางในการใช้มันคัดกรองหุ้นให้กับเรา ผมเชื่อว่าหากได้นำไปใช้ร่วมกับระบบในการหาจังหวะซื้อขาย (Trigger หรือ Entry System) ของพวกเราแล้ว ปัญหาที่ว่าหุ้นเกิดสัญญาณพร้อมๆกันหลายๆตัวจะเลือกตัวไหนดี ก็น่าที่จะทุเลาลงมาเป็นอย่างมาก และน่าจะทำให้สามารถเลือกหุ้นเล่นได้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ

Baruch คือผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นแนวหน้าของวงการการเงินและตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในยุคของเขา คำสอนของยังคงมีคุณค่าอย่างสูงในปัจจุบันอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต เขาได้ค่อยๆสะสมความมั่งคั่งจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นเป็นเวลาหลายปี ก่อนที่จะกลายไปเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวให้กับประธานาธิบดี Woodrow Wilson และ Franklin Roosevelt ในเวลาต่อมา และนี่คือคมความคิดของเขาครับ

บทความนี้ถูกเขียนไว้โดย Ed Seykota เซียนหุ้นระดับโลกที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีแล้ว โดยเขาได้พูดถึงคำว่า “แนวโน้ม” ที่เราทุกคนมักใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไร และมันมีสิ่งที่เรียกว่า “แนวโน้ม ณ ขณะนี้” จริงๆหรือ? ซึ่งผมคิดว่าน่าจะช่วยให้เราตระหนักถึงการใช้มันได้อย่างเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นครับ อยากให้ค่อยๆลองอ่านกันครับ ถ้าไม่เข้าใจอย่างไรก็ลองถามหรือจะพูดคุยกันเข้ามาได้นะครับ :D

เชื่อว่าพวกเราบางคนอาจเคยได้ยินชื่อของ Chuck Lebeau และ David Lucas กันมาบ้างแล้ว แต่หากยังไม่คุ้นหูนักก็ไม่เป็นไร เพราะวันนี้ผมได้นำเอาบทสัมภาษณ์ของพวกเขามาให้ได้อ่านกัน เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างระบบการลงทุนมาอย่างยาวนาน น่าจะมีประโยชน์กับหลายๆคนที่ต้องการจะเทรดอย่างมีระบบและวินัยกันครับ

สวัสปีใหม่กับทุกๆคนครับ หวังว่าจะได้พักผ่อนกันเต็มอิ่มในวันหยุดยาวที่ผ่านมา ก่อนที่จะมาลุยกันต่อกับตลาดหุ้นไทยในปีกระต่ายบินของเรากันครับ :D ปีใหม่นี้ผมได้ลงมือแปลบทความชิ้นยาวตอนหนึ่งเอาไว้เป็นเพื่อเป็นของขวัญให้กับทุกๆคนกัน บทความชิ้นนี้จะค่อยๆเล่าเรื่องราวของประวัติและต้นกำเนิดของการเก็งกำไร “ตามแนวโน้ม” จนมาถึงยุคปัจจุบัน เข้ามาอ่านกันต่อได้เลยครับ :)

ยังมีอีกกฏที่ต้องจำครับ มันเป็นกฏที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือ “แมลงสาบ ไม่เคยมาตัวเดียว” นี่เป็นกฏที่คุณต้องจดจำเอาไว้นะครับ “แมลงสาบ ไม่เคยมาตัวเดียว” เมื่อข่าวร้ายเริ่มออกมาข่าวหนึ่ง มันมักจะมีข่าวร้ายตามออกมาอีกเรื่อยๆ! ง่ายๆอย่างนี้แหละครับ

หลังจากที่ได้ศึกษาแนวคิดในเรื่องของ Relative Strength (RS) ในการเลือกหุ้นมาพอสมควร ซึ่งเป็นคนละตัวกับอินดิเคเตอร์ยอดฮิตอย่าง RSI ที่ทุกๆท่านรู้จักกันดีอยู่ ผมคิดว่าน่าจะดีถ้าในแต่ละอาทิตย์ผมจะนำมันมา Post ลงสักอาทิตย์ละครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลในการเล่นหุ้นอีกทางหนึ่งครับ เนื่องจากผมยังไม่พบว่า มีที่ใดที่มีการจัดอันดับ Ranking ของความแข็งแกร่งของหุ้นหรืออุตสาหกรรมเอาไว้สำหรับตลาดหุ้นไทย (หรืออาจมีแต่ผมยังไม่ทราบ ถ้ามีช่วยแจ้งให้ทราบก็ได้ครับ ผมจะได้ไม่เหนื่อย อิอิ)

…เมื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเก็งกำไรที่ดีนั้น Ed Seykota ได้กล่าวเอาไว้ว่า “1)ตัดขาดทุน, 2)ตัดขาดทุน, 3)ตัดขาดทุน หากคุณสามารถทำตามกฏทั้ง 3 ข้อนี้ได้จริงๆล่ะก็ คุณก็อาจจะมีโอกาส (สำเร็จในการเก็งกำไร) ขึ้นมาบ้าง” อย่างไรก็ตาม นักเล่นหุ้นแบบ Trend Follower น้อยคนนักที่จะเข้าใจถึงสิ่งที่ Seykota ได้กล่าวเอาไว้จริงๆ เพราะแท้จริงแล้ว Seykota ได้กล่าวถึงการตัดขาดทุนจากการขาดทุนถึง 3 รูปแบบต่างหาก

ผู้ที่ใช้หลักการของ Trend Follower นั้น จะต้องใช้ชีวิตและมีมุมมองในภาพใหญ่ ภายในขอบเขตของเวลาที่จะเอื้อให้หลักการทางสถิตินั้นสำเร็จผลออกมา โดยสำหรับนักเก็งกำไรแบบ Trend Follower แล้ว ทุกๆวันและทุกๆการเทรดของพวกเขานั้น คือสิ่งที่อยู่ภายใต้แคมเปญจน์ (การซื้อขายหลายพันครั้ง) ของพวกเขา โดยมองว่าการซื้อ-ขายทุกๆครั้งนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโอกาส หรือเกมทางสถิติของพวกเขา