fbpx
บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น : Chuck LeBeau and David Lucas by Jack Reerink

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

lebeau1 บทสัมภาษณ์ Chuck LeBeau and David Lucas โดย Jack Reerink

เชื่อว่าพวกเราบางคนอาจเคยได้ยินชื่อของ Chuck Lebeau และ David Lucas กันมาบ้างแล้ว แต่หากยังไม่คุ้นหูนักก็ไม่เป็นไร เพราะวันนี้ผมได้นำเอาบทสัมภาษณ์ของพวกเขามาให้ได้อ่านกัน เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างระบบการลงทุนมาอย่างยาวนาน น่าจะมีประโยชน์กับหลายๆคนที่ต้องการจะเทรดอย่างมีระบบและวินัยกันครับ

“สัญญาณซื้อทั้งหลายนั้น จริงๆแล้วไม่ได้ให้ผลความแม่นยำไปกว่าการโยนเหรียญเลย” นี่คือคำพูดของ Chuck LeBeau ในวัย 57 และ David Lucas ในวัย 50(ปี 1994) หลังจากที่เขาได้ผ่านการทดสอบเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคต่างๆบนโลกนี้มาเกือบจนหมดแล้ว ในช่วงระยะเวลาเกือบ 8 ปีที่พวกเขาได้ร่วมเป็นคู่หูกัน

“เราได้ทำการทดสอบถึงประสิทธิภาพของสัญญาณซื้อต่างๆ จากการกำหนดสัญญาณขายออกเมื่อได้เข้าซื้อไปแล้ว N วัน และรวบรวมสถิติของการเทรดที่ทำกำไรให้เราออกมา” โดยที่ Lucas นั้นยังได้บอกอีกว่า “มันน่าตกใจเป็นอย่างมากว่า มีสัญญาณการซื้อ จากเครื่องมือทางเทคนิค หรือจากแพทเทรินต่างๆเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่จะให้ผลดีกว่าการสุ่ม โดยหากว่าคุณมีกำไรจากการขายออกไปหลังจากที่คุณเข้าซื้อไป 5 วันถึง 55% และมีกำไรจากการขายออกไปหลังจากที่เข้าซื้อไป 10 วัน 50% นั่นบ่งบอกได้เลยว่าคุณทำได้ดีมากๆทีเดียวครับ”

Lucas นั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Central Connecticut State University in New Britain และได้เข้าศึกษาต่อจนจบในสาขาชีววิทยาสถิติ(Biological Statistcs) จากมหาวิทยาลัย University of New York และหลังจากที่เขาได้ออกจากการรับราชการทหารประจำการฐานควบคุมการปล่อยจรวดมิสไซล์ที่ North Dakota ในปี 1966-1970 เขาจึงได้เริ่มอาชีพเป็นนัก Computer Programer ที่ Signa Insurance ในเมือง Hartford.Con.

Lucas ได้เปิดใจกับเราว่า “หลังจากนั้นสักพักหนึ่ง หากว่าคุณไม่ใช่พวกที่เสพย์ติดคอมพิวเตอร์ คุณจะกลายเป็นคนล้าสมัย” และ “ผมต้องการที่จะทำอะไรบางอย่างที่แตกต่างจากเดิมสักหน่อยครับ” และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาได้เลือกเข้ามาทำงานที่ E.F.Hutton หลังจากนั้น ส่วน LeBeau นั้น ตัวเขาเองได้เริ่มเข้ามาสนใจตลาด Futures ก่อน Lucas เป็นเวลาพอสมควร ตั้งแต่ที่เขายังเรียนอยู่ทีมหาวิทยาลัย California State University เขาได้เลือกเข้าเรียนในวิชาการลงทุนซึ่งทำการสอนโดย Charles Harlow ผู้ที่เป็นนักเก็งกำไรในตลาด Commodities ในช่วง Generation ที่สองของเหล่า Trader ในอเมริกา โดยหลังจากที่ Chuck ได้จบการศึกษาในปี 1963 นั้น เขาได้ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหารในกองทัพ และเขาก็ประสบความสำเร็จจนได้เลื่อนตำแหน่งเป็น Captain และได้รับมอบหมายให้ทำการบังคับบัญชาหน่วยทหารคุ้มครองในสถานทูตของอเมริกา ณ กรุงปารีส โดยหลังจากที่เขาได้เสร็จสิ้นภาระหน้าที่ของเขาแล้ว เขาจึงได้เข้ามาทำงานเป็น Broker อยู่ที่ E.F.Hutton ในปี 1967

ในปี 1988 นั้น LeBeau และ Lucas ได้ร่วมมือกันเขียนวารสารรายเดือน, เขียนหนังสือและช่วยกันทำการทำการเขียนและพัฒนาระบบการลงทุนสำหรับเหล่าที่ปรึกษาการลงทุนในตลาด Commodities ของบริษัท Island View Financial Group ในเมือง Torrance, California

Lucas บอกกับเราว่า “เมื่อเริ่มแรกนั้น เราได้ทำการเขียนโปรแกรมเล็กๆซึ่งถูกนำมาใช้ในการช่วยทดสอบผลการใช้ Moving Average ต่างๆกว่า 20,000 รูปแบบกับตลาดต่างๆ และเราได้ทำการทดสอบกันในเครื่องคอมพิวเตอร์ 286 เป็นเวลาหลายสัปดาห์เลยทีเดียว” และเขายังพูดไปว่า “หลังจากเวลาเป็นเดือนๆที่เราได้ใช้ในการทดสอบพยายามหาจอกศักดิสิทธิ์ของตลาดหุ้นนั้น เราได้พบกับความจริงที่ว่า หาตลาดนั้นเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้มขึ้นมา ไม่ว่า Moving Average รูปแบบๆไหนๆก็จะทำเงินได้ทั้งนั้น”

นั่นจึงทำให้พวกเขาทุ่มเทความพยายามลงไป ในการที่จะแยกแยะและบ่งบอกถึงภาวะของความเป็น “แนวโน้ม” ของตลาด และทำการวัดค่าความเร่งของมัน พวกเขาพบว่าเครื่องมือที่ดีที่สุดในการวัดก็คือ Directional Movement(DI) นั่นเอง(คิดค้นโดย Welless Wilder และถูกเขียนตีพิมพ์ในหนังสือ The New Concept in Technical Trading Systems”) โดยเครื่องมือนี้จะทำการหาค่าของทิศทางการเคลื่อนไหวที่มากที่สุดนอกระยะของวันก่อนหน้าออกมา โดยให้ค่าเป็น DI+ ในกรณีที่ตลาดวิ่งขึ้น และ DI- ในกรณีที่ตลาดวิ่งลงนั่นเอง

LeBeau บอกกับเราว่า “หากว่าแรงของการเคลื่อนไหวขึ้นนั้น มากกว่าแรงของการเคลื่อนไหวลงอย่างมีนัยยะสำคัญล่ะก็ นั่นจะหมายถึงการเกิดแนวโน้มขาขึ้นขึ้นมา” และเขาได้พูดอีกว่า “หากว่าผลต่างระหว่าง DI+ และ DI- นั้นมีค่าถึงระดับหนึ่ง สถิติโดยทั่วไปถึง 70% ที่เกิดขึ้นก็คือ แนวโน้มจะดำเนินต่อไปในแนวโน้มเดิมอย่างน้อยกว่า 20 วันทีเดียว” พวกเขาจะทำการเข้าซื้อ หากว่าแนวโน้มนั้นเกิดความเร่งขึ้นมา โดยการวัดค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงหรือ Rate of Change จากเครื่องมือ Average Directional Movement Index(ADX) 14 วันที่คิดค้นโดย Wilder ภายในช่วงเวลาก่อนหน้าวันปัจจุบัน 7 สัปดาห์

“เราได้พบว่า ระดับของ ADX นั้นไม่ใช่สิ่งที่มีความสำคัญนักอย่างที่ Wilder ได้สอนและให้ข้อสังเกตเอาไว้” LeBeau บอกกับเราต่อว่า “ระดับของ ADX นั้นแทบจะไม่ช่วยบอกอะไรให้คุณเลยว่าคุณอยู่ ณ จุดไหนของแนวโน้ม และมันไม่ช่วยให้เราคาดเดาอะไรได้มากเท่าไหร่นัก”

Lucas เสริมให้เราเข้าใจอีกว่าระดับของ ADX นั้น โดยปกติจะเคลื่อนที่อยู่ระหว่างค่า 10-40 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20-25 ในการเคลื่อนไหวโดยปกติ “ทุกๆวันนี้ เราแทบจะไม่ได้เข้าซื้อขายในขณะที่ ADX อยู่ในระดับที่ต่ำ หรือแม้แต่ในระดับกลางๆ” เขายังบอกอีกว่า “ผู้คนได้พยายามทำการวัดค่าของตลาดและใช้มันมากขึ้น ดังนั้น แนวโน้มที่เกิดขึ้นจึงมักจะหายไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น”

com analysis
หนึ่งในหนังสือที่เขียนไว้โดย Chuck Le Beau และ David Lucas

หลังจากที่พวกเขาได้ทำการทดสอบอย่างมากมาย LeBeau และ Lucas ได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบของพวกเขาจากเครื่องมือ ADX เพียงตัวเดียวเท่านั้น โดย Lucas ได้ให้เหตุผลว่า “มันง่ายมากที่คุณจะโยนสิ่งต่างๆลงไปในระบบของคุณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันคือการหลอกตัวเองและ Curve Fitting ซึ่งจะทำให้ระบบของคุณด้อยประสิทธิภาพลงมาในการที่จะนำไปใช้จริงๆ”

พวกเขานั้นใช้วิธีการตัดขาดทุนในหลายๆรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Dollar Stop, Trailing Stop จาก Chart Pattern หรือแม้แต่ Volatility Trailing Stop(Chandelier) ในการช่วยกำหนดจุดตัดขาดทุนและทำกำไรของพวกเขา โดยพวกเขาจะทำการคำนวณมันออกมาในแต่ละวัน และใช้ค่าที่ใกล้ที่สุดจากราคาปิดของมัน โดยในกรณีที่พวกเขามีกำไรก้อนใหญ่มากๆขึ้นมานั้น(มากกว่า X เท่าของค่า Average True Range ที่ 4 วัน) พวกเขาจะนำกลยุทธ์ Profit Taking เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยเขาได้ให้เหตุผลไว้ว่า “ถึงแม้ว่าจุดตัดขาดทุนแบบ Volatility Trailing Stop นั้นจะใช้ได้ดี แต่มันก็เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งของระบบเท่านั้น” โดย LeBeau ได้เสริมว่า “พวกเรามักจะทำการเปลี่ยนแปลงจุดตัดขาดทุนของเราหลายๆครั้งในวันเดียวเป็นปกติ” และสิ่งนี้เองที่ช่วยให้พวกเขารักษากำไรของพวกเขาเอาไว้ได้เป็นอย่างดี พวกเขายังได้เรียนรู้อีกว่า “ในการเก็งกำไรนั้น การที่ไม่ทำอะไรเลยนั้น บ่อยครั้งคือการกระทำที่ดีที่สุด”

Lucas ได้ทิ้งท้ายให้เราว่า “เราอาจไม่เหมือนกับนักเก็งกำไรหลายๆคน เราได้เรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่าของการอยู่เฉยๆ และมองตลาดจากภายนอก” พวกเขานั้นเคยที่จะอยู่เฉยๆถึง 8 สัปดาห์เมื่อปี 1995 ในการบริหารเงินกองทุนของพวกเขา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำการเทรดในหลายๆตลาดเลยทีเดียว

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)