fbpx
Tag

หลักการบริหารเงินทุน Money Management

Browsing

เมื่อพูดถึงความผิดพลาดหรือการขาดทุนจากการเก็งกำไรอย่างหนักนั้น เรามักที่จะเชื่อมโยงสาเหตุหลักๆของมันเข้ากับความผันผวนของตลาดอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วนี่เป็นความจริงเพียงส่วนเดียวเท่านั้น เรากำลังเข้าใจผิดอย่างมากระหว่างคำว่า “ความผันผวน” และ “ความเสี่ยงในการลงทุน” และนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมหลายๆคนจึงต้องขาดทุนไปมากมายอย่างคาดไม่ถึง

ถึงแม้ระบบความคิดในรูปแบบนี้ จะเป็นระบบความคิดในรูปแบบที่คนเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยที่จะเคยชินกับมันสักเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ดี มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่ว่าจะทั้งในชีวิตประจำวันและในการเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก ผมจึงขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังกัน ซึ่งจะมีส่วนช่วยกับเรื่องของจิตวิทยาการลงทุนในการเล่นหุ้นอีกทีหนึ่งครับ

สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดไปโดยไม่ตั้งใจในการเล่นหุ้นก็คือ เรื่องผลกระทบจาก “ลำดับ” ของผลจากการซื้อขายที่เกิดขึ้นตามระบบ สิ่งนี้กลายเป็นอุปสรรคในการทำตามระบบไปโดยอัตโนมัติ วันนี้ผมจะแสดงให้เห็นถึงผลของ “ลำดับ” ที่เกิดขึ้นว่า มันมีผลต่อผลกำไรที่ปลายทางอย่างไร และทำไมความเข้าใจถึงสิ่งนี้จึงมีผลกระทบต่อ “วินัย” ของเราครับ

ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงอย่างนี้ ผมพบว่ามีนักเล่นหุ้นจำนวนไม่น้อยที่ยังพยายามเค้นเอากำไรออกมาจากตลาดให้ได้อยู่ในทุกๆวัน ไม่ต่างกับการพยายามเก็บเหรียญในดงระเบิด โอกาสได้กำไรก็ช่างน้อยนิด แถมกำไรที่ได้ก็ใช่ว่าจะใหญ่โตอะไร และอาจไม่คุ้มค่ากับการที่ต้องเสียเวลาและสุขภาพจิต ในการนั่งเฝ้าจอหุ้นหรือนั่งอยู่กับข่าวร้ายทุกๆวันด้วย จึงอยากจะขอนำบทความตัดตอนสั้นๆจากบล็อกของคุณ Olivier Tischendorf มาแปะไว้ให้อ่านกันสักนิดหนึ่งครับ

สูตรที่เคลลี่ค้นพบนั้น ในเวลาต่อมามันถูกเรียกอย่างง่ายๆว่า Kelly Formula และมันก็ได้กลายเป็นสิ่งที่จุดประกายความคิดให้กับบรรดาสุดยอดนักเก็งกำไรตามแนวโน้ม หรือนักเก็งกำไรตามระบบทั้งหลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยที่พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากห้องแลบของเบล ในการที่จะพัฒนาระบบในการที่จะตัดสินใจหาขนาดของการเดิมพันที่เหมาะสมในแต่ละครั้งขึ้นมา (หรือเรียกอีกอย่างว่าหลักการบริหารเงินทุน Money Management นั่นเอง)

วันนี้ผมนำบทความจาก Charles Faulkner ยอดนักเก็งกำไรและผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบ NLP อันดับต้นๆของโลกมาให้อ่านครับ เขาเคยถูกสัมภาษณ์ไว้ในหนังสือหลายๆเล่มรวมถึง The Market Wizrard และ The Intuitive Trader ที่ผมเคยได้นำมารีวิวให้อ่านเอาไว้แล้ว นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เขียนร่วมในหนังสือจิตวิทยาการพัฒนาตนเองด้วยวิธีการ NLP ที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่ง (อันดับ 1 ในอเมซอนชื่อ NLP The New Technology of Achievement) ซึ่งเขาได้นำเอาวิธีการเหล่านี้มาช่วยในการพัฒนาศักย์ภาพของนักเก็งกำไรไว้ได้อีกด้วยครับ

ในการที่จะอยู่รอดจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นนั้น มันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่คุณจะต้องทำความเข้าใจกับสมการคณิตศาสตร์บางชนิด เพื่อที่จะเพิ่มพูนศักย์ภาพของการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวของคุณ ซึ่งนั่นก็คือเรื่องของค่าความคาดหวัง โดยเรามักจะเรียกมันในวงการเก็งกำไรว่าค่า “กำไรคาดหวัง หรือ Expectancy” นั่นเอง

หลังจากที่เริ่มมีเพื่อนๆบางท่านที่สนใจและอีเมล์มาคุยเรื่อง Money Management กับผมโดยอยากให้ทำการอัพเดทบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะขึ้น ผมจึงขอนำบทความต่อเนื่องในเรื่องของ Risk Management ตอนที่สองและตอนต่อๆไปมาทยอยลงต่อกันนะครับ

ภูมิปัญญาที่เฉียบแหลมในการเก็งกำไรนั้น ได้ถูกอธิบายอย่างง่ายๆไว้ในกระดาษที่แปะไว้บนผนังทำงานของ Paul Tudor Jones สุดยอดนักเก็งกำไรคนหนึ่งของโลกเอาไว้แล้ว นั่นก็คือ.. “คนแพ้ชอบถัวขาดทุน หรือ Losers Average Losers” นั่นเอง

George Lane นั้นบอกกับเราว่าเขารู้สึกว่าตนเองโชคดีมากๆ ที่ได้รู้จักกับตลาดและเรียนรู้เกี่ยวกับมันในช่วงเวลาที่เขาบอกว่า “ตลาดและสิ่งต่างๆยังคงเรียบง่ายอยู่” โดยในช่วงเริ่มต้นของการเก็งกำไรนั้น Lane ได้ตั้งคำถามในใจอยู่ตลอดเวลาว่า “มันต้องมีอะไรสักอย่าง อยู่ทีไหนสักแห่ง” ที่จะช่วยเขาในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการเก็งกำไรได้ นอกจากเพียงการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น