“เทรดกับสิ่งที่เป็น ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด!”
พวกเราหลายคนมักที่จะชอบใช้ Indicator กันอย่างหลาย น่าเสียดายว่าหลายๆคนมักหลงลืมไปว่าแท้จริงแล้ว Indicator ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือผลกำไร-ขาดทุนของเราเอง ยิ่งไปกว่านั้นแล้วเมื่อเรามองไปที่มัน เรายังชอบที่จะจ้องมองแต่ผลกำไรที่เกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงที่จะสังเกตุถึงการขาดทุนของเราไป นี่เป็นมุมมองที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะการขาดทุนเป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง และเมื่อเรารู้สึกถึงความสวยงามของมันได้แล้ว การขาดทุนที่เกิดขึ้นก็จะไม่เจ็บปวดอีกต่อไป
ไกล้จะปีใหม่เข้ามาทุกทีเมื่อพูดถึง January Effect แล้ว เชื่อว่าทุกคนก็มักที่จะนึกถึงภาพของตลาดหุ้นที่เขียวสดใสขึ้นมาในทันใด เพราะนี่ถือเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาของนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่ปรากฏการณที่จะเกิดขึ้นในทุกๆปีตลอดเวลา ดังนั้น คำถามที่น่าสนใจก็คือมันมีอยู่จริงหรือไม่? และมันมีความน่าเชื่อถือเพียงใด? วันนี้ผมจึงได้ลองเก็บสถิติของมันมาให้ดูกันครับ
เป็นที่ถกเถียงกันมานานระหว่างทฤษฏีตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market) และตลาดไร้ประสิทธิภาพ (Inefficient Market) ว่าจริงๆแล้วตลาดหุ้นมีพฤติกรรมของมันเป็นอย่างไร ในบทความนี้ผมจะลองนำเอาค่าการกระจายตัวของผลตอบแทนในตลาดหุ้น ซึ่งเปรียบเสมือนกับลายเซนต์ของทฤษฏีทั้งสองอย่างนี้มาให้ลองดูกันครับ
มีคำกล่าวไว้ว่า หากคุณอยากทำให้การเล่นหุ้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากขึ้นกว่าเดิม ก็ให้คุณตัดสินผลลัพท์การตัดสินใจของคุณ จากผลการขาดทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งเสีย!! ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกัน และไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมการเล่นหุ้นให้มีวินัยจึงเป็นเรื่องที่ยากเหลือเกิน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เราจะมาหาคำตอบกันครับ วิถีทางของตลาด ในช่วงวิกฤติน้ำท่วมและวิกฤติหนี้ยุโรปที่ผ่านมานั้น หลายๆคนคงเกิดความสงสัยและสับสนเป็นอย่างมาก ว่าเหตุใดตลาดหุ้นไทยยังคงตีกลับขึ้นมาเป็นขาขึ้นเล็กๆได้ ซึ่งเหตุผลก็อาจเป็นไปได้หลายอย่างหลายประการตามแต่ที่เราจะคิดกันไป อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งของตลาดหุ้นก็คือ มันมักที่จะเคลื่อนไปในทิศทางตาม “ความเชื่อ” ของคนหรือกลุ่มคน (ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องมีความสำพันธ์กัน) ที่มีเม็ดเงินมากเพียงพอที่จะมีผลกระทบกันตลาดนั่นเอง…
ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนอย่างรุนแรงนั้น หากว่าคุณรู้สึกว่าเกิดความสับสนมากๆล่ะก็ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว ที่คุณอาจมี “จุดตัดสินใจ” ในการเล่นหุ้นที่ไม่ชัดเจนเพียงพอก็เป็นได้ นี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งซึ่งทำให้นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มีปัญหากับตลาดหุ้นโดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันครับ
มีคนกล่าวไว้ว่า ในตลาดหุ้นขาลงนั้น 3 ใน 4 ของหุ้นทั้งตลาดจะลงไปพร้อมกับดัชนีตลาดโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดกลายเป็นขาลงครั้งใหญ่อย่างเต็มตัวนั้น การอยู่เฉยๆอาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดก็ได้ ในบทความนี้ เราจะลองมาดูกันว่าคำกล่าวนี้จะเป็นจริงแค่ไหนกันครับ
นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มักตกเป็นเหยื่อของการพยากรณ์ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ พวกเรามักจะเชื่อมันอย่างโงหัวไม่ขึ้นเมื่อคำพยากรณ์นั้นยืนยันตรงกันในสิ่งที่เราต้องการได้ยิน นี่ถือเป็นช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในตลาดหุ้นอย่างหนึ่งเลยทีเดียว และมันคือจุดอ่อนทางจิตวิทยาการลงทุนที่พวกเรา … สร้างขึ้นมาเอง
ในความเห็นของผมแล้ว ความจริงการ Let profits run จึงไม่ได้เป็นเหตุผลซึ่งมาจากความโลภสักเท่าไหร่ แต่มันเป็นเหตุผลซึ่งเกิดจากความ “เหมาะสม” ของระบบการกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนของเราต่างหาก เนื่องจากคุณไม่มีทางที่จะ Let profits run ได้เลย หากว่าคุณใจของคุณยังโลภเกินไป!
วิธีการต่อไปนี้คือแนวทางเบื้องต้น ที่จะช่วยให้คุณรู้จักรับมือกับการขาดทุนจากการเล่นหุ้นได้อย่างเหมาะสมและชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นครับ