fbpx

วันนี้ต่อกันเลยในตอนที่ 2 ของวิธีการเล่นหุ้นด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการใช้หลักของค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์ (Relative Strength) โดยเฮียโจ Joe Fahmy เช่นเคย ในตอนนี้เขาจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างหลายๆแบบ และเน้นย้ำถึงหลักแนวคิดสำคัญในการเล่นหุ้นของเขาครับ

วันนี้ลองมาดู Joe Fahmy ลูกศิษย์ของสุดยอดเซียนหุ้นอย่าง Mark Minervini (ผู้เคยถูกสัมภาษณ์ลงหนังสือ Market Wizards) สอนเกี่ยวกับวิธีการเล่นหุ้น และการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคโดยใช้ Relative Strength กันอย่างง่ายๆแต่มีประสิทธิภาพกันดูนะครับ (มีทั้งหมด 2 ตอนต่อเนื่องครับ)

เมื่อวันก่อนผมยังติดค้างแนวคิดการวิเคราะห์ทางเทคนิคดีๆๆจากหนังสือหุ้น Trade Like an O’Neil Disciple กับทุกคนอยู่ และสัญญาว่าจะมาเล่าต่อให้จบ วันนี้ว่างแล้วเลยขอมาเล่าไอเดียใหม่ๆ (รึปล่าว?) ต่อกันเลยแล้วกันนะครับ โดยในตอนนี้จะมาว่ากันด้วยเรื่องของแนวคิดในการใช้เครื่องมือยอดฮิตอย่าง Moving Average ในการหาจังหวะขายหุ้นของพวกเขากัน ซึ่งถึงแม้ว่านี่อาจเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องใหม่ของใครบางคน แต่นี่เป็นสิ่งที่ผมเห็นว่ายังไม่ค่อยมีใครใช้กันในเมืองไทยสักเท่าไหร่ ก็เลยคิดว่าน่าสนใจดีครับ :)

รีวิวหนังสือหุ้นคราวนี้ ผมขอนำหนังสือหุ้นที่พึ่งจะออกมาในปีที่แล้ว และเทคนิคการหาสัญญาณเข้าซื้อในรูปแบบของพวกเขามาเล่าให้ฟังกันครับมาเล่าให้ฟังกันครับ หนังสือหุ้นเล่มนี้ร่วมกันเขียนโดย Gil morales และ Chris Kacher ซึ่งเคยเป็นอดีต Trader ให้กับ William O’Neil (เซียนหุ้นต้นตำหรับของสูตรเด็ด C-A-N-S-L-I-M ที่ทุกคนน่าจะพอรู้จักกันดี) ซึ่งพวกแต่ละคนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึงกว่า 18,000% ภายในระยะเวลา 7 ปีครับ

ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงอย่างนี้ ผมพบว่ามีนักเล่นหุ้นจำนวนไม่น้อยที่ยังพยายามเค้นเอากำไรออกมาจากตลาดให้ได้อยู่ในทุกๆวัน ไม่ต่างกับการพยายามเก็บเหรียญในดงระเบิด โอกาสได้กำไรก็ช่างน้อยนิด แถมกำไรที่ได้ก็ใช่ว่าจะใหญ่โตอะไร และอาจไม่คุ้มค่ากับการที่ต้องเสียเวลาและสุขภาพจิต ในการนั่งเฝ้าจอหุ้นหรือนั่งอยู่กับข่าวร้ายทุกๆวันด้วย จึงอยากจะขอนำบทความตัดตอนสั้นๆจากบล็อกของคุณ Olivier Tischendorf มาแปะไว้ให้อ่านกันสักนิดหนึ่งครับ

การใช้ Indicator หลายๆตัวร่วมกันวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคนั้นดีจริงหรือไม่? หรือมันอาจเป็นเพียงความหลงผิดของนักวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคส่วนใหญ่ พบกับคำตอบและคำอธิบายของมันได้ในวิดีโอคลิปหุ้นชิ้นนี้ครับ

สูตรที่เคลลี่ค้นพบนั้น ในเวลาต่อมามันถูกเรียกอย่างง่ายๆว่า Kelly Formula และมันก็ได้กลายเป็นสิ่งที่จุดประกายความคิดให้กับบรรดาสุดยอดนักเก็งกำไรตามแนวโน้ม หรือนักเก็งกำไรตามระบบทั้งหลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยที่พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากห้องแลบของเบล ในการที่จะพัฒนาระบบในการที่จะตัดสินใจหาขนาดของการเดิมพันที่เหมาะสมในแต่ละครั้งขึ้นมา (หรือเรียกอีกอย่างว่าหลักการบริหารเงินทุน Money Management นั่นเอง)

พอดีวันนี้กะจะอัพเดทหน้าต่าง Trading Wisdom ในเวบเสียหน่อย ผมนำเอาวาทะคำคมจากเซียนหุ้นหลายๆคนมาฝากกัน เรามาดูกันว่าบรรดาเซียนหุ้นระดับโลกอย่างนี้ เขามีทัศนะต่อการเล่นหุ้นและการควบคุมความเสี่ยงของพวกเขาอย่างไรกันบ้างดีกว่าครับ

นักจิตวิทยาได้ทำการวิจัยและพบว่าสถานการณ์ต่อไปนี้ คือสถานการณ์ที่จะมีผลทำให้เกิดเราเกิดความโน้มเอียง ในการที่จุเราจะพึ่งพาระบบการตัดสินใจด้วยอารมณ์และสัญชาติญาณของเราออกมาเหนือเหตุผล ซึ่งถือได้ว่านี่คือสิ่งที่เป็นจุดอ่อนสำคัญของนักเล่นหุ้นทุกๆคน ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขและบรรเทาออกไปให้มากที่สุด

ช่วงนี้ตลาดหุ้นได้กลับกลายเป็นขาลง หลังจากที่มันวิ่งขึ้นมาอย่างยาวนานเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตุได้ก็คือ คนจำนวนมากเริ่มติดหุ้นและปฏิเสธที่จะตัดขาดทุน ทั้งที่ได้วางแผนต่างๆเป็นอย่างดีก่อนที่จะเข้าเก็งกำไรเหตุผลส่วนหนึ่งของพฤติกรรมเหล่านี้ มาจากความต้องการที่จะถูกต้องหรือสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดเวลา จึงได้นำเอาคำพูดที่น่าสนใจของ Tyler Bollhorn เจ้าของเวบ Stockscores.com มาฝากกันเอาไว้ครับ