หลังจากที่ผมเคยได้พูดอยู่บ่อยๆรวมถึงได้เขียนบทความ “เหตุใดระบบการลงทุนของคุณจึงควรง่ายเข้าไว้?” ผ่านมาสัก 2 ปีเห็นจะได้ หลังๆมานี้ก็เห็นหลายๆคนเริ่มมีความเข้าใจถึงข้อดีของความง่ายของระบบกันมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ยังมีคนที่สงสัยและติดใจว่าเราไม่จำเป็นต้องสนใจปัจจัยอื่นๆอีกมากมายด้วยจริงๆหรือ? วันนี้เลยขอกลับมาเขียนภาคต่อของบทความนี้ เพื่อให้หลายๆคนที่ยังไม่คุ้นกับการทดสอบระบบการลงทุนได้เห็นภาพกันชัดเจนยิ่งขึ้นครับ
บทความนี้เรามาต่อกันเรื่องของสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นกำลังเอื้ออำนวยต่อการทำกำไรให้จบกันดีกว่าครับ
วันอาทิตย์ที่ผ่านมาพึ่งมีโอกาสได้รับการเชิญชวนจากครูเสกแห่ง CDC ไปช่วยบรรยายในงานสัมนาอีกครั้งหนึ่ง ก็เลยเอาข้อมูลที่ทำไว้มาให้อ่านสรุปคร่าวๆกันครับ
นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มักไม่ชอบซื้อหุ้นเมื่อตลาดเป็นขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่านี่เป็นความรู้สึกและข้อแก้ตัวที่ไม่เข้าท่านัก เพราะนั่นมักจะทำให้เขาตกรถไปโดยปริยายในช่วงเวลาที่ตลาดกำลังจะคืนกำไรกลับมา ค่าเสียโอกาสเช่นนี้นั้นมีผลต่อกำไรของเรามากกว่าที่คิด มันคือนาทีทองที่เราไม่ควรพลาดมันไปเลยแม้แต่น้อย
เรามักที่จะชื่นชอบและหลงชื่นชมต่อการอธิบายถึงสูตรเด็ดมหัศจรรย์ในการซื้อหุ้นกันเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วสูตรส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แตกต่างจากปาหี่ไปสักเท่าไหร่นัก และนี่ก็เป็นสิ่งที่ผมอยากจะเตือนมือใหม่ๆทุกคนเอาไว้ด้วยเช่นกัน
เป็นที่ถกเถียงกันมานานระหว่างทฤษฏีตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market) และตลาดไร้ประสิทธิภาพ (Inefficient Market) ว่าจริงๆแล้วตลาดหุ้นมีพฤติกรรมของมันเป็นอย่างไร ในบทความนี้ผมจะลองนำเอาค่าการกระจายตัวของผลตอบแทนในตลาดหุ้น ซึ่งเปรียบเสมือนกับลายเซนต์ของทฤษฏีทั้งสองอย่างนี้มาให้ลองดูกันครับ
คลิปหุ้นตอนนี้ช่วยอธิบายให้เราเข้าใจได้อย่างง่ายๆว่า เหตุใดแนวคิดการเล่นหุ้นแบบ Momentum Investing หรือกลยุทธ์การเล่นหุ้นตามแนวโน้มจึงได้ผล ซึ่งสอดคล้องไปกับหลักการทางวิชาการเงินเชิงพฤติกรรมหรือ Behavioral Finance ในระดับหนึ่ง ผมเลยเอามาให้ดูกันครับ
กี่ครั้งกี่หนแล้ว ที่เรามักจะได้ยินใครต่อใครพูดว่า “ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นนั้นอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี” ส่วนตัวของผมเองนั้นมักจะได้ยินสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนๆนักเล่นหุ้น, ที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ หรือแม้แต่ในงานมีทติ้งสังสรรค์ แต่ผมอยากจะบอกว่าความจริงแล้ว นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันอย่างมหันต์! ส่วนเหตุผลจะเป็นเพราะอะไรนั้น … ตามเข้ามาอ่านกันได้เลยครับ!
วันนี้ต่อกันเลยในตอนที่ 2 ของวิธีการเล่นหุ้นด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการใช้หลักของค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์ (Relative Strength) โดยเฮียโจ Joe Fahmy เช่นเคย ในตอนนี้เขาจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างหลายๆแบบ และเน้นย้ำถึงหลักแนวคิดสำคัญในการเล่นหุ้นของเขาครับ
วันนี้ลองมาดู Joe Fahmy ลูกศิษย์ของสุดยอดเซียนหุ้นอย่าง Mark Minervini (ผู้เคยถูกสัมภาษณ์ลงหนังสือ Market Wizards) สอนเกี่ยวกับวิธีการเล่นหุ้น และการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคโดยใช้ Relative Strength กันอย่างง่ายๆแต่มีประสิทธิภาพกันดูนะครับ (มีทั้งหมด 2 ตอนต่อเนื่องครับ)