คลิปหุ้นตอนนี้ช่วยอธิบายให้เราเข้าใจได้อย่างง่ายๆว่า เหตุใดแนวคิดการเล่นหุ้นแบบ Momentum Investing หรือกลยุทธ์การเล่นหุ้นตามแนวโน้มจึงได้ผล ซึ่งสอดคล้องไปกับหลักการทางวิชาการเงินเชิงพฤติกรรมหรือ Behavioral Finance ในระดับหนึ่ง ผมเลยเอามาให้ดูกันครับ
ช่วงนี้ผมได้พบกับเพื่อนๆที่เป็นแฟนคลับแมงเม่าหลายๆท่าน สังเกตุได้ว่าหลายๆคนมักถามถึงเรื่องของวิธีการเล่นหุ้นตาม Relative Strength ว่าผลเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือแค่ไหน ผมเลยลองเอาผลทดสอบแนวคิดของการใช้ค่า RS แบบเพียวๆมาให้ดูกันครับ
นักเล่นหุ้นหลายต่อหลายคน พยายามที่จะดิ้นรนหาระบบการลงทุน หรือสูตรการวิเคราะห์ที่พิสดารกันมามากมายนักต่อนัก แต่นี่เป็นทางเดินที่ถูกต้องจริงๆอย่างนั้นหรือไม่-มากน้อยแค่ไหน?
หลายๆคนอาจไม่เคยสงสัยว่า … “เหตุใดพวกเขาจึงมีกำไรเกิดขึ้นมา?” สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถที่จะสรุปได้ในความหมายเดียว นั่นก็คือ พวกเราต่างก็สามารถทำกำไรขึ้นมาได้ เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของตลาด (Market Inefficiencies) นั่นเอง
บรรดานักเล่นหุ้นแบบ Trend Following หลายๆคนมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่า แท้จริงแล้วองค์ประกอบของระบบการลงทุนที่สำคัญนั้น อยู่ที่สัญญาณขายหุ้น (Exit) และรูปแบบการบริหารเงินทุน (Money Management) ไม่ใช่สัญญาณซื้อหุ้น (Entry) อย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน วันนี้ผมเลยขอนำผลการทดลองคร่าวๆ มาให้ดูกันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร หากว่าเราลองปาเป้าเลือกหุ้นในตลาดหุ้นกันครับ!
ความเข้าใจผิดหลายๆประการของนักเล่นหุ้นทั่วไปเกี่ยวกับระบบการลงทุนที่มีความยั่งยืนสูงนั้น คือพวกเขามักที่จะเชื่อว่ามันคือระบบที่มีความแม่นยำสูงที่สุด หรือทำกำไรได้มากที่สุด หรือแม้กระทั่งให้ผลตอบแทนที่มี Smooth Equity Curve ที่สุด แต่แท้จริงแล้วนี่อาจไม่ใช่บุคลิกที่แท้จริงของมันอย่างที่เราส่วนใหญ่เข้าใจกันก็ได้ และนี่คือส่วนหนึ่งของมุมมองจากสุดยอดของ System Trader คนหนึ่งนั่นก็คือ Dave Druz เกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบการลงทุน ที่ผมนำมาฝากกันในวันนี้ครับ :)
ก่อนอื่นผมคงต้องขอสวัสดีเพื่อนๆทุกคนย้อนหลังในวันมหาสงกรานต์ปีนี้กันก่อนนะครับ หวังว่าทุกๆคนจะมีความสุขเที่ยวสนุกหรือนอนจนเพลินกันถ้วนหน้านะครับ วันนี้ผมขอเอาระบบการลงทุนที่นี่สนใจมากๆระบบหนึ่งของสุดยอดเซียนหุ้น Ed Seykota (อีกแล้ว 55) มาให้ทุกคนได้ศึกษากันครับ
วันนี้ผมจะขอเล่าถึงแนวคิดที่สำคัญมากๆอย่างหนึ่ง ที่ทำให้กลยุทธ์การเล่นหุ้นตามแนวโน้มหรือ Trend Following สามารถที่จะทำกำไรขึ้นมาได้ โดยที่สาเหตุหนึ่งนั้นก็เนื่องมาจากการที่มันมีรากฐานในการทำกำไร โดยอิงจากสภาวะการให้ผลตอบแทนที่ผิดธรรมดาของตลาดออกไปนั่นเอง (Non-Normality of Market Returns) จะเป็นอย่างไรนั้นเดี๋ยวผมจะค่อยๆเล่าให้ฟังไปครับ :)
จากผลการวิจัยของนักมานุษยวิทยานั้นพวกเขาได้พบว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนแปลงที่ดินในการเพาะปลูกพืชนั้น มีผลกระทบในเชิงลบต่อผลผลิตโดยเฉลี่ยในการเก็บเกี่ยวในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม มันก็ให้ผลกระทบในเชิงบวกต่อความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันฝรั่งของพวกเขาด้วยเช่นกัน (พูดอีกอย่างก็คือ การกระจายความเสี่ยงของเกษตรกรชาวเปรูในยุคเมดิวัลทำให้ผลตอบแทนลดลง แต่ทำให้เกิดความผันผวนของผลผลิตโดยเฉลี่ยที่เก็บเกี่ยวได้ดีขึ้นมากๆ)
กี่ครั้งกี่หนแล้ว ที่เรามักจะได้ยินใครต่อใครพูดว่า “ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นนั้นอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี” ส่วนตัวของผมเองนั้นมักจะได้ยินสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนๆนักเล่นหุ้น, ที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ หรือแม้แต่ในงานมีทติ้งสังสรรค์ แต่ผมอยากจะบอกว่าความจริงแล้ว นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันอย่างมหันต์! ส่วนเหตุผลจะเป็นเพราะอะไรนั้น … ตามเข้ามาอ่านกันได้เลยครับ!