New high ! จริงหรือหลอกบอกกันอย่างไร ?
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
วันนี้ผมนำ เคล็ดลับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคเล็กๆน้อยมาเล่าให้ฟังกันนะครับ ซึ่งในวันนี้จะเป็นเรื่องของการดู “ความน่าจะเป็น” ว่าหุ้นที่ผ่านแนวต้านไปนั้น มี “ความน่าจะเป็น” แค่ใหนที่มันจะวิ่งต่อไป ไกลแค่ใหน และอย่างไรครับ! โดยบทความชิ้นนี้ผมนำมาแปลสรุปจากบทความของ Tim Ord นักวิเคราะห์หุ้นชื่อดังของอเมริกานะครับ ซึ่งแนวคิดการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคโดยนำวอลุ่มมาพิจรณาประกอบ ณ จุด Breakout นี้เป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่มีรากฐานจาก Richard Wyckoff นักเล่นหุ้นระดับตำนานของ Wallstreet ตั้งแต่ยุคปี 1900 โน่นเลยครับ แต่หลักการที่ดีก็คือหลักการที่ดีครับและยังไม่ล้าสมัยไปผมเลยนำมาให้อ่านกันสักทีนะครับ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หลักการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคของ Wyckoff นั้นถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1930 และจะมีจุดแข็งที่นี่สนใจคือการศึกษาในเรื่องของ Volume ครับ ซึ่งผมเองคิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียวหากเรามีสมมุติฐานที่ว่า “ราคานั้นวิ่งไปด้วยแรงดันของวอลุ่ม” ซึ่งในขณะที่ Wyckoff ยังมีชีวิตอยู่นั้น การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคด้วยกราฟยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไหร่ เครื่องมือสำคัญคือ Tape หรือ บันทึกการซื้อขายประจำวันเท่านั้นครับ (อ่านเรื่อง Tape reading ได้ที่นี่ครับ) แต่ด้วยความที่ Tim Ord แกสนใจจึงนำมาประยุกต์ใช้กับการอ่านกราฟจนกลายเป็นเทคนิคเหล่านี้ครับ เริ่มกันเลยดีกว่า
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อสังเกตุ:
การวิเคราะห์หุ้นด้วยวอลุ่มด้วยวิธีการแบบ Wyckoff นั้น ตัววอลุ่มอย่างเดียวนั้นไม่ไช่สิ่งที่สำคัญนักหากแต่เป็น สัดส่วนความสำพันธ์ หรือ Percentage relationship ของวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงขณะหุ้นได้เคลื่อนผ่านแนวรับ–แนวต้านสำคัญครับ และความสำพันธ์ระหว่างสัดส่วนของวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี่เองที่เป็นสิ่งที่จะบอก “ความน่าจะเป็น” ที่ตลาดจะเคลื่อนที่ไปยังทิศทางใดต่อไป
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
กฎการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคของ Tim Ord ด้วยแนวทางของ Richard D. Wyckoff
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
1.เมื่อหุ้นได้วิ่งไปทดสอบ แนวรับ–แนวต้านเดิมโดยที่วอลุ่มนั้นลดลงตั้งแต่ประมาณ 8% ลงไปนั้นสามารถตีความหมายได้ว่า นี่คือจุดวกกลับหรือ Reversal ของราคา โดยที่การทดสอบแนวรับแนวต้านนี้หมายถึง การที่หุ้นได้เคลื่อนที่ผ่าน แนวรับหรือแนวต้านแล้ววกกลับลงมาในขอบเขตเดิม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
2.เมื่อหุ้นวิ่งไปทดสอบ แนวรับ–แนวต้านเดิมโดยที่วอลุ่มนั้นลดลงไม่เกิน 3% นั้นมีความ “น่าจะเป็น” ที่หุ้นจะพักตัวแล้วไปต่อ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
3.ให้เลือกใช้การเปรียบเทียบ สัดส่วนปริมาณของวอลุ่มในการทดสอบแนวรับ–แนวต้านเดิมกับ แนวรับ–แนวต้านเดิมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าหุ้นจะเคยทดสอบแนวต้านที่เกิดเป็นครั้งแรกมาหลายครั้งแล้ว (นั่นคือแนวรับ–แนวต้านที่สำคัญคือ แนวที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและหุ้นยังไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้อย่างชัดเจนครับ)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
4.เมื่อหุ้นสามารถเคลื่อนผ่านแนวรับ–แนวต้านเดิมไปได้ด้วยวอลุ่มที่ไกล้เคียงหรือมากกว่าครั้งเก่าแต่ราคาวกกลับมาที่ขอบเขตเดิมมี “ความน่าจะเป็น” ที่แนวรับ–แนวต้านเดิมจะถูกทดสอบอีกครั้ง
ปล. การที่เราจะบอกได้ว่า แนวรับ–แนวต้านเดิมจะถูกทดสอบอีกครั้งหรือไม่นั้นความลับอยู่ที่วอลุ่ม
–ถ้าสัดส่วนของวอลุ่มเมื่อหุ้นได้ทดสอบแนวรับ–แนวต้านเดิมนั้น น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8% ราคาน่าจะถึงจุดวกกลับ
–ถ้าสัดส่วนของวอลุ่มเมื่อหุ้นได้ทดสอบแนวรับ–แนวต้านเดิมนั้น น้อยกว่าเดิมไม่เกิน 3% ราคาน่าจะวิ่งต่อไป
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
5.เมื่อหุ้นสามารถวิ่งผ่านแนวรับ–แนวต้านเดิมไปได้ ด้วยสัดส่วนของวอลุ่มที่เบาบางลงกว่าเดิม เท่ากับหรือมากกว่า 8% อาจตีความได้ว่าน่าจะเกิด False Breakout หรือการหลอกซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ราคาหุ้นจะเคลื่อนกลับลงมา ณ ขอบเขตเดิม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
6.เมื่อราคาหุ้นกระโดดขึ้นหรือลง ที่เราเรียกว่าเปิด “Gap” จุดต่ำสุดและจุดสูงสุดของช่องว่างระหว่าง Gap ถือเป็นแนวรับและแนวต้านได้เช่นเดียวกับแนวรับ–แนวต้าน ที่เกิดขึ้นจากการที่หุ้นเคลื่อนที่วกกลับไปจริงๆ และสามารถใช้หลักการวิเคราะห์สัดส่วนของวอลุ่มการซื้อขายได้เช่นกัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
นี่คือ หลักการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่ Tim Ord นั้นนำมาพัฒนาต่อจาก Richard D. Wyckoff ครับหากอยากทราบรายละเอียดแบบเจาะลึกเพิ่มเติมแนะนำให้ลองหาหนังสือหุ้น The Secret Science of Price and Volume เขียนโดย Tim Ord เพิ่มเติมนะครับ ลองนำไปประยุกต์ใช้และสังเกตุเพิ่มเติมกับตลาดบ้านเรากันดูนะครับสำหรับวันนี้จบแล้วครับ เจอกับเรื่องราวดีๆที่ผมจะเก็บมาเล่าอย่างนี้ได้เหมือนเดิมพรุ่งนี้ที่นี่ แมงเม่าคลับ.คอม นะครับโชคดีกับการเล่นหุ้นในอาทิตย์นี้ครับ