บทความนี้คือภาคต่อจากบทความสุดฮิต “ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ!”โดยในวันนี้เราจะมา Track Performance หรือรอยเท้าของนักเก็งกำไรระดับโลกกันให้ดูบ้างว่าพวกเขาจะมีดีหรือห่วยแตกแค่ไหนกัน!!
Barclay CTA Index ภาพรวมของผลตอบแทนจากบรรดานักเก็งกำไรมืออาชีพ
เรามาจะมาเริ่มต้นกันด้วยภาพรวมจาก Performance ของเหล่านักเก็งกำไรซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนมืออาชีพในตลาด Futures (Managed Futures) หรือพวก Commodity Trading Advisor (CTA) กันก่อน เนื่องจากนี่เป็นดัชนีภาพรวมที่ได้ถูกทำการเก็บบันทึกข้อมูลเอาไว้มาอย่างยาวนานและได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง (อย่างน้อยก็เท่าที่ผมรู้)
1980 | 63.69% | 1991 | 3.73% | 2002 | 12.36% |
1981 | 23.90% | 1992 | -0.91% | 2003 | 8.69% |
1982 | 16.68% | 1993 | 10.37% | 2004 | 3.30% |
1983 | 23.75% | 1994 | -0.65% | 2005 | 1.71% |
1984 | 8.74% | 1995 | 13.64% | 2006 | 3.54% |
1985 | 25.50% | 1996 | 9.12% | 2007 | 7.64% |
1986 | 3.82% | 1997 | 10.89% | 2008 | 14.09% |
1987 | 57.27% | 1998 | 7.01% | 2009 | -0.10% |
1988 | 21.76% | 1999 | -1.19% | 2010 | 7.05% |
1989 | 1.80% | 2000 | 7.86% | 2011 | -3.09% |
1990 | 21.02% | 2001 | 0.84% | 2012 | 1.33%† |
†Estimated YTD performance for 2012 calculated with reported data as of Sep-16-2012 16:36 US CST |
ภาพรวมของผลตอบแทนตั้งแต่เดือนมกราคาปีค.ศ. 1980
Compound Annual Return | 10.96% |
Sharpe Ratio | 0.40 |
Worst Drawdown | 15.66% |
Correlation vs S&P 500 | 0.01 |
Correlation vs US Bonds | 0.12 |
Correlation vs World Bonds | 0.00 |
สิ่งที่คุณกำลังเห็นอยู่คือดัชนีที่เรียกว่า Barclay CTA Index ซึ่งถือเป็นดัชนี Benchmark ที่สำคัญตัวหนึ่งซึ่งถูกจัดทำโดยเว็บไซท์ http://www.barclayhedge.com แสดงให้เห็นถึง Performance ของบรรดา CTA มืออาชีพ โดยในปัจจุบันนี้พวกมันได้ถูกคำนวนจากกองทุนต่างๆ (Programs) ถึงกว่า 602 กองเลยทีเดียว (สำหรับรายละเอียดการคำนวนเพิ่มเติม Click ที่นี่)
เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคำกล่าวอ้างที่ว่า “ไม่มีใครประสบความสำเร็จจากการเก็งกำไรนั้น” เป็นคำกล่าวที่ไร้สาระเป็นอย่างมาก (เขาคงไม่เคยเห็นดัชนีตัวนี้) เพราะนอกจากมันได้สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมของผลตอบแทนจะเป็นบวกแทบทุกปีแล้ว ดัชนียังชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ ไม่ใช่เพียงแค่พวกเขาส่วนใหญ่จะสามารถทำกำไรจากตลาดได้ในระยะยาว แต่พวกเขายังสามารถที่จะทำได้ดีมากๆเมื่อเทียบกับความเสี่ยงอีกด้วย (โดยที่อัตรา MAR Ratio หรือ CAR/Worst Drawdown นั้นมีค่าเพียง 0.69 เมื่อเทียบกับ) นอกจากนี้แล้ว ดัชนียังได้ให้ผลตอบแทนที่ชนะ Benchmark ซึ่งก็คือดัชนี S&P500 (CAR/Worst Drawdown = 7.64/50.95 = 0.14) และ Equity index ด้วยเช่นกัน จนถึงขนาดที่กองทุนเหล่านี้ถูกถือเป็น Asset Class ใหม่ชนิดหนึ่งของเหล่ากองทุนขนาดใหญ่มากๆเลยทีเดียว
ผลตอบแทนเปรียบเทียบของดัชนี Barclay CTA Index กับ ดัชนี S&P500 ที่มา : May 2010 Issue of Managed Futures Today จาก http://www.managedfuturestodaymag.com/
กลยุทธ์ Trend Following ใช้ได้จริงหรือไม่!?
ในคราวนี้เราลองมาเจาะดูดีกว่าว่ากองทุนประเภทที่ประกาศตัวว่าเป็น Trend Following นั้นจะทำผลงานได้ดีแค่ไหน และนี่ก็คือผลงานโดยรวมของพวกเขา (ปล. กองทุนส่วนใหญ่ใน Account Managed Futures มักใช้กลยุทธ์ Trend Following)
ผลตอบแทนรายปีของดัชนี Trend Following Strategy Index โดยเว็บไซท์ http://www.IASG.com
Year
|
YTD | DD |
2012 | 0.82 | 5.45 |
2011 | -5.17 | 9.35 |
2010 | 17.64 | 4.4 |
2009 | -3.94 | 6.53 |
2008 | 40.39 | 7.48 |
2007 | 13.14 | 7.94 |
2006 | 10.55 | 8.35 |
2005 | 7.85 | 6.92 |
2004 | 6.85 | 15 |
2003 | 20.5 | 8.51 |
2002 | 26.84 | 9.2 |
2001 | 10.01 | 8.4 |
2000 | 21.88 | 3.91 |
1999 | 3.64 | 6.77 |
1998 | 22.91 | 6.4 |
1997 | 24.19 | 5.8 |
1996 | 32.12 | 9.03 |
1995 | 38.14 | 6 |
1994 | 0.05 | 9.98 |
1993 | 38.98 | 3.89 |
1992 | 0.67 | 19.75 |
1991 | 30.49 | 7.04 |
1990 | 62.77 | 10.86 |
1989 | 24.19 | 23.9 |
1988 | 13.27 | 10.59 |
1987 | 57.31 | 10.24 |
1986 | -18.96 | 31.75 |
1985 | 4.22 | 32.01 |
1984 | 31.71 | 7.06 |
1983 | -10.35 | 10.35 |
เราคงจะเห็นถึงการเติบโตในระยะยาวที่สม่ำเสมอของกองทุนประเภท Trend Following Strategy (จาก IASG) ได้เป็นอย่างดี พวกมันให้ผลตอบแทนทบต้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 16.30% และมี Max Drawdown อยู่ที่ –32.01% และมี Losing Year เพียงแค่ 4 ปีเท่านั้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1983! โดยกองทุนดังๆที่มีผู้จัดการกองทุนที่หลายๆคนอาจเคยรู้จักเช่น
- กองทุน eckhardt-trading-company ของ William Eckhardt ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Turtle Trader ร่วมกับ Richard Dennis (CAROR = 20.80%, MaxDD = –40.39%, Standard Plus Program Inception Since Oct 1991)
- กองทุน Abraham Trading ที่ถูกก่อตั้ง Salem Abraham ซึ่งถือเป็น Genration ที่ 2 ของเหล่า Turtle Trader (CAROR = 18.29%, MaxDD = –31.96%, Diversified Program Inception Since Jan 1988)
- กองทุน Winton Capital Management ของ David Harding นักเก็งกำไรชาวอังกฤษที่มี Assets Under Management (AUM) ที่เติบโตเร็วที่สุดกองทุนหนึ่งในบรรดากองทุน Trend Following (CAROR = 15.57%, MaxDD = –25.59%, Inception Oct 1997)
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆคนที่โด่งดังมานานมากๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Larry Hite และ Bill Dunn เจ้าพ่อ TF รุ่นเก๋า หรือแม้กระทั่ง John W. Henry ซึ่งตอนนี้ก็คือเจ้าของทีมฟุตบอล Liverpool รวมถึงลูกศิษย์ในสาย Turtle Trader อีกมากมายด้วยเช่นกัน
การลงทุนอย่างเป็นระบบ Systematic Trading ใช้ได้จริงหรือไม่!?
“เล่นหุ้นตามระบบซื้อขายแบบตายตัวมันจะไปทำกำไรได้อย่างไร ถ้าไม่งั้นทุกคนก็รวยกันง่ายๆหมดแล้ว มันต้องดูปัจจัยอีกหลายๆอย่างประกอบด้วย!!”
สำหรับผู้ที่ยังคิดแบบนี้หรือมีเพื่อนๆที่คิดอย่างนี้ ภาพการเติบโตของดัชนี Systematic Trader น่าจะให้คำตอบและหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับคนเหล่านี้ได้ครับ
ผลตอบแทนรายปีของดัชนี Systematic Trader Index โดยเว็บไซท์ http://www.IASG.com
Year
|
YTD | DD |
2012 | 1.1 | 3.36 |
2011 | -2.24 | 5.66 |
2010 | 13.45 | 2.79 |
2009 | -0.62 | 3.64 |
2008 | 32.81 | 4.16 |
2007 | 14.64 | 4.72 |
2006 | 10.66 | 5.92 |
2005 | 7.79 | 5.37 |
2004 | 8.19 | 10.6 |
2003 | 17.87 | 7.11 |
2002 | 24.06 | 7.36 |
2001 | 9.22 | 7.09 |
2000 | 21.92 | 3.1 |
1999 | 3 | 6.7 |
1998 | 22.99 | 5.5 |
1997 | 21.06 | 5.58 |
1996 | 25.48 | 8.71 |
1995 | 33.49 | 7.29 |
1994 | 2.66 | 9.71 |
1993 | 40.65 | 2.26 |
1992 | -0.69 | 18.92 |
1991 | 19.52 | 9.79 |
1990 | 85.09 | 10.72 |
1989 | 25.11 | 23.34 |
1988 | 37.9 | 13.04 |
1987 | 88.94 | 10.85 |
1986 | 10.94 | 25.95 |
1985 | 32.73 | 24.4 |
1984 | 29.82 | 6.27 |
1983 | -3.69 | 9.1 |
1982 | 37.5 | 8.22 |
1981 | 47.29 | 7.68 |
1980 | 72.99 | 2.28 |
1979 | 66.62 | 1.57 |
1978 | 30.14 | 14.91 |
1977 | 13.06 | 9.78 |
สำหรับในส่วนของดัชนีของกองทุนซึ่งทำการเก็งกำไรอย่างเป็นระบบหรือ Systematic Trader Index มันได้แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนทบต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีค.ศ. 1977 จนถึงปัจจุบันที่ 23.43% ต่อปี และมี Max Drawdown อยู่ที่เพียง -25.95% เท่านั้น! (การลงทุนอย่างเป็นระบบมีมายาวนานกว่าที่หลายๆคนคิดนะครับ ^_^) นี่ถือเป็นผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ถือว่าสูงและดีมากๆเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับดัชนีซึ่งเป็น Benchmark และกองทุนส่วนใหญ่ โดยกองทุนพวกนี้ก็เช่น
- Mark J. Walsh Company ซึ่งก่อตั้งโดย Mark J. Walsh ผู้ซึ่งไม่ใช่ Turtle Trader แต่สนิทสนมกับ Richard Dennis ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Turtle Trader (CAROR = 20.67%, MaxDD = –43.04%, Standard Program Inception Since Sep 1985)
- Tactical Investment Management ซึ่งก่อตั้งโดย David Druz ผู้เป็นลูกศิษย์เอกของ Ed Seykota ยอดนักเก็งกำไรสุดชิลผู้แต่งเพลง The Whipsaw Song ที่ผมเคยทำ Subtitle เอาไว้ตั้งแต่ปีแรกๆ (CAROR = 19.23%, MaxDD = –36.52%, Tactical Institutional Commodity Program Inception Since April 1993)
- กองทุน EMC Capital โดย Liz Cheval ลูกศิษย์ของกลุ่ม Turtle Trader รุ่นแรก (CAROR = 21.68%, MaxDD = –45.35%, Classic Program Inception Since Jan 1985)
- กองทุน Clarke Capital Management โดย Micheal Clarke ผู้ช่ำชองการเก็งกำไรโดยใช้ระบบโดยอาศัยการเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 และถูกจัดอันดับอยู่เป็น Top Trader ในนิตยสาร Futures Magazine ถึง 3 ครั้งในปี 1993, 2000, 2007 (CAROR = 22.65%, MaxDD = –46.51%, Global Basic Program Inception Since Feb 1996)
- กองทุน Trantrends โดยกลุ่ม CTA ซึ่งเชี่ยวชาญการสร้างระบบการเทรดจากประเทศเนเธอร์แลนด์ (CAROR = 15.04%, MaxDD = –15.15%, Transtrend Diversified Trend Program – Enhanced Risk (USD) inception Since Jan 1995)
แน่นอนว่ายังมีกองทุนขนาดใหญ่อีกหลายๆกองซึ่งมีการบริหารงานและกลยุทธ์เก็งกำไรในรูปแบบของ Systematic Trading อยู่อีกมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจของกองทุนเหล่านี้อย่างหนึ่งก็คือ พวกเขามักที่จะใช้กลยุทธ์ Trend Following แบบกินคำใหญ่ด้วยเช่นกัน เพียงแต่เป็นการ Trade แบบ Systematic 100% เราจึงเห็นได้ว่าพวกมันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
*** ข้อสังเกตุที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราจะสังเกตุได้ว่าในปีที่ตลาดโดยรวม (ทั้งโลก) ย่ำแย่นั้น บรรดากองทุน Systematic Trend Following เหล่านี้ยังกลับให้ผลตอบแทนโดยรวมที่ดีเอามากๆเสียด้วย (ยกตัวอย่างเช่นปีค.ศ. 2008 ในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์) ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะพวกเขาไม่ยึดติดอยู่กับทิศทางของตลาดแต่รู้จักทำกำไรจากมันทั้งขาขึ้นและขาลง โดยผลกำไรที่เกิดขึ้นในวิกฤติเหล่านี้ก็เป็นผลมาจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในตลาดนั่นเอง
แล้วผลการลงทุนของกลยุทธ์การเก็งกำไรในรูปแบบอื่นๆล่ะ!?
ความจริงแล้วยังมีกองทุนซึ่งใช้กลยุทธ์การเก็งกำไรที่แตกต่างออกไปไม่ว่าจะเป็น Counter Trend, High Frequency Trading, Momentum, Pattern Recognition หรือแม้แต่ Fundamental Trading ซึ่งก็สามารถที่จะทำกำไรอย่างงดงามได้ในระยะยาวอยู่อีกมากเช่นกัน (ทั้งแบบใช้การตัดสินใจจากวิจารณญาณ Discretion Trading และแบบเป็นระบบ Systematic Trading) อย่างไรก็ตาม ผมคงไม่สามารถที่จะเอาข้อมูลทั้งหมดมาลงให้ครบได้ (เนื่องจากมันเยอะเหลือเกิน) แต่เท่านี้ก็น่าจะเป็นหลักฐานและคำตอบที่เพียงพอให้กับหลายๆคนได้ว่า
“นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้นมีอยู่จริงและมีอยู่มากมาย!! นอกจากนี้พวกเขาก็สามารถที่จะสร้างผลการลงทุนที่ให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ดีมากๆเสียด้วย”
ผมหวังว่าบทความในภาคต่อชิ้นนี้จะช่วยเป็นกำลังใจและคำบอกใบ้ต่อแนวทางการศึกษาค้นหาข้อมูลให้กับทุกๆคนที่สนใจในการเก็งกำไรแบบ Trend Following หรือลงทุนอย่างเป็นระบบได้อีกพอสมควร นอกจากนี้แล้วมันก็น่าจะช่วยเปิดหูเปิดตาให้กับนักลงทุนไทยหลายๆคน ซึ่งมักที่จะปิดกั้นตัวเองหรือมีอคติที่เลวร้ายต่อการเก็งกำไรด้วยเช่นกันด้วย ซึ่งผมเองไม่ได้ต้องการที่จะมา Bluff อะไรกับใครแต่อยากจะบอกแค่ว่า
บางทีแล้วสิ่งที่เราเห็นอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ หรือสิ่งที่เราไม่เห็นก็อาจเป็นเพียงเพราะเราไม่อยากที่จะมองเห็นมันก็ได้ …
และผมคิดว่านี่เป็นทัศนคติที่อันตรายมากๆในการที่เราจะเอาตัวรอดและทำกำไรในโลกทุนนิยมที่โหดร้ายขึ้นทุกวัน การเปิดตามองสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นรอบๆควรเป็นกิจวรรตประจำวันของนักลงทุนทุกๆคน เครื่องมือหรือไสตล์การลงทุนต่างๆไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย (หากเรารู้จริง) สิ่งที่เลวร้ายมักเป็นตัวของเราเองต่างหาก
ขอให้โชคดีมีกำไรทุกๆคนครับ!
** ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์ http://www.barclayhedge.com, http://www.IASG.com และhttp://www.managedfuturestodaymag.com/ ใครสนใจอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองไปอ่านๆดูกันนะครับ ^_^