การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ด้วยค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์ Relative Strength กับ Joe Fahmy ตอนที่ 2
วันนี้ต่อกันเลยในตอนที่ 2 ของวิธีการเล่นหุ้นด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการใช้หลักของค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์ (Relative Strength) โดยเฮียโจ Joe Fahmy เช่นเคย ในตอนนี้เขาจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างหลายๆแบบ และเน้นย้ำถึงหลักแนวคิดสำคัญในการเล่นหุ้นของเขาครับ
แมงเม่าคลับ หนังสือหุ้นน่าอ่าน วิธีการเล่นหุ้น การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค
[youtube width=”530″ height=”410″]http://www.youtube.com/watch?v=SGwZfe-s5QY[/youtube]
วิธีการเล่นหุ้นโดยใช้ค่าแข็งแกร่งสัมพันธ์โดย Joe Fahmy ตามแนวทางของ Mark Minervini
สำหรับในตลาดหุ้นไทยนั้น นี่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับหุ้นหลายๆตัวก่อนที่จะวิ่งขึ้นไป โดยลักษณะที่ Joe Fahmy ใช้นั้น ในความคิดของผม มองว่าถึงแม้เขาจะใช้การอ่านกราฟในการตัดสินใจเป็นหลัก แต่หากท่านใดที่สนใจจะใช้การสกรีนหุ้นแบบ Mechanical Trading System อาจลองพิจารณาใช้อัตราการเปลี่ยนแปลง หรือ Rate of Change (ROC) ระหว่างหุ้นกับดัชนีตลาด เช่น SET, SET50, SET100 หรือตามกลุ่มอุตสาหกรรมร่วมด้วยก็ได้
โดยเท่าที่สังเกตุนั้น Fahmy มอง Time Frame ในระยะประมาณ 1 ลูกคลื่น หรือกะคร่าวๆได้ประมาณที่ +-20 วัน อาจะเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการเล่น Swing Trade เป็นพิเศษ เพราะเราสามารถนำมาใช้มอง Comparetive Divergence ระหว่างหุ้นกับดัชนีได้ แทนที่จะเป็นเพียง Divergence ที่เกิดขึ้นกับสัญญาณในหุ้นตัวนั้นโดดๆเพียงอย่างเดียว แต่หากเราต้องการมองในภาพใหญ่ ก็อาจเลือกใช้เป็นระยะ 6-12 เดือนขึ้นไปแทน โดย ณ จุดที่ RS 1 ปีของหุ้นเหนือกว่าของดัชนีนั้น ส่วนใหญ่หุ้นจะวิ่งขึ้นมาในระดับหนึ่ง และอาจกำลังอยู่ในช่วงที่มันได้เจอกับแนวต้านแถวๆ 260 วันหรือ 1 ปีพอดี ซึ่งหากผ่านไปได้จะถือว่ามีนัยสำคัญพอสมควร ที่เหลือจุดขายก็ Trailing Stop ตามระบบใครระบบมันกันต่อไป :D สำหรับวันนี้คงจบแค่นี้ก่อน ถ้ามีไอเดียมาแชร์ก็คอมเมนท์คุยกันต่อได้เลยนะครับ :)