fbpx
วิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

Performance ของนักเก็งกำไรที่มักถูกเรียกว่าผีพนัน!

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

บทความนี้คือภาคต่อจากบทความสุดฮิต “ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ!”โดยในวันนี้เราจะมา Track Performance หรือรอยเท้าของนักเก็งกำไรระดับโลกกันให้ดูบ้างว่าพวกเขาจะมีดีหรือห่วยแตกแค่ไหนกัน!!

Barclay CTA Index ภาพรวมของผลตอบแทนจากบรรดานักเก็งกำไรมืออาชีพ

เรามาจะมาเริ่มต้นกันด้วยภาพรวมจาก Performance ของเหล่านักเก็งกำไรซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนมืออาชีพในตลาด Futures (Managed Futures) หรือพวก Commodity Trading Advisor (CTA) กันก่อน เนื่องจากนี่เป็นดัชนีภาพรวมที่ได้ถูกทำการเก็บบันทึกข้อมูลเอาไว้มาอย่างยาวนานและได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง (อย่างน้อยก็เท่าที่ผมรู้)

1980 63.69% 1991 3.73% 2002 12.36%
1981 23.90% 1992 -0.91% 2003 8.69%
1982 16.68% 1993 10.37% 2004 3.30%
1983 23.75% 1994 -0.65% 2005 1.71%
1984 8.74% 1995 13.64% 2006 3.54%
1985 25.50% 1996 9.12% 2007 7.64%
1986 3.82% 1997 10.89% 2008 14.09%
1987 57.27% 1998 7.01% 2009 -0.10%
1988 21.76% 1999 -1.19% 2010 7.05%
1989 1.80% 2000 7.86% 2011 -3.09%
1990 21.02% 2001 0.84% 2012 1.33%
Estimated YTD performance for 2012 calculated with reported data as of Sep-16-2012 16:36 US CST

Barclays CTA Index

ภาพรวมของผลตอบแทนตั้งแต่เดือนมกราคาปีค.ศ. 1980

Compound Annual Return 10.96%
Sharpe Ratio 0.40
Worst Drawdown 15.66%
Correlation vs S&P 500 0.01
Correlation vs US Bonds 0.12
Correlation vs World Bonds 0.00

สิ่งที่คุณกำลังเห็นอยู่คือดัชนีที่เรียกว่า Barclay CTA Index ซึ่งถือเป็นดัชนี Benchmark ที่สำคัญตัวหนึ่งซึ่งถูกจัดทำโดยเว็บไซท์ http://www.barclayhedge.com แสดงให้เห็นถึง Performance ของบรรดา CTA มืออาชีพ โดยในปัจจุบันนี้พวกมันได้ถูกคำนวนจากกองทุนต่างๆ (Programs) ถึงกว่า 602 กองเลยทีเดียว (สำหรับรายละเอียดการคำนวนเพิ่มเติม Click ที่นี่)

เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคำกล่าวอ้างที่ว่า “ไม่มีใครประสบความสำเร็จจากการเก็งกำไรนั้น” เป็นคำกล่าวที่ไร้สาระเป็นอย่างมาก (เขาคงไม่เคยเห็นดัชนีตัวนี้) เพราะนอกจากมันได้สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมของผลตอบแทนจะเป็นบวกแทบทุกปีแล้ว ดัชนียังชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ ไม่ใช่เพียงแค่พวกเขาส่วนใหญ่จะสามารถทำกำไรจากตลาดได้ในระยะยาว แต่พวกเขายังสามารถที่จะทำได้ดีมากๆเมื่อเทียบกับความเสี่ยงอีกด้วย (โดยที่อัตรา MAR Ratio หรือ CAR/Worst Drawdown นั้นมีค่าเพียง 0.69 เมื่อเทียบกับ) นอกจากนี้แล้ว ดัชนียังได้ให้ผลตอบแทนที่ชนะ Benchmark ซึ่งก็คือดัชนี S&P500 (CAR/Worst Drawdown = 7.64/50.95 = 0.14) และ Equity index ด้วยเช่นกัน จนถึงขนาดที่กองทุนเหล่านี้ถูกถือเป็น Asset Class ใหม่ชนิดหนึ่งของเหล่ากองทุนขนาดใหญ่มากๆเลยทีเดียว

MFT-perspective1-0510-1

ผลตอบแทนเปรียบเทียบของดัชนี Barclay CTA Index กับ ดัชนี S&P500 ที่มา : May 2010 Issue of Managed Futures Today จาก http://www.managedfuturestodaymag.com/

กลยุทธ์ Trend Following ใช้ได้จริงหรือไม่!?

ในคราวนี้เราลองมาเจาะดูดีกว่าว่ากองทุนประเภทที่ประกาศตัวว่าเป็น Trend Following นั้นจะทำผลงานได้ดีแค่ไหน และนี่ก็คือผลงานโดยรวมของพวกเขา (ปล. กองทุนส่วนใหญ่ใน Account Managed Futures มักใช้กลยุทธ์ Trend Following)

image

ผลตอบแทนรายปีของดัชนี Trend Following Strategy Index โดยเว็บไซท์  http://www.IASG.com

Year
YTD DD
2012 0.82 5.45
2011 -5.17 9.35
2010 17.64 4.4
2009 -3.94 6.53
2008 40.39 7.48
2007 13.14 7.94
2006 10.55 8.35
2005 7.85 6.92
2004 6.85 15
2003 20.5 8.51
2002 26.84 9.2
2001 10.01 8.4
2000 21.88 3.91
1999 3.64 6.77
1998 22.91 6.4
1997 24.19 5.8
1996 32.12 9.03
1995 38.14 6
1994 0.05 9.98
1993 38.98 3.89
1992 0.67 19.75
1991 30.49 7.04
1990 62.77 10.86
1989 24.19 23.9
1988 13.27 10.59
1987 57.31 10.24
1986 -18.96 31.75
1985 4.22 32.01
1984 31.71 7.06
1983 -10.35 10.35

เราคงจะเห็นถึงการเติบโตในระยะยาวที่สม่ำเสมอของกองทุนประเภท Trend Following Strategy (จาก IASG) ได้เป็นอย่างดี พวกมันให้ผลตอบแทนทบต้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 16.30% และมี Max Drawdown อยู่ที่ –32.01% และมี Losing Year เพียงแค่ 4 ปีเท่านั้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1983! โดยกองทุนดังๆที่มีผู้จัดการกองทุนที่หลายๆคนอาจเคยรู้จักเช่น

  • กองทุน eckhardt-trading-company ของ William Eckhardt ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Turtle Trader ร่วมกับ Richard Dennis (CAROR = 20.80%, MaxDD = –40.39%, Standard Plus Program Inception Since Oct 1991)
  • กองทุน Abraham Trading ที่ถูกก่อตั้ง Salem Abraham ซึ่งถือเป็น Genration ที่ 2 ของเหล่า Turtle Trader (CAROR = 18.29%, MaxDD = –31.96%, Diversified Program Inception Since Jan 1988)
  • กองทุน Winton Capital Management ของ David Harding นักเก็งกำไรชาวอังกฤษที่มี Assets Under Management (AUM) ที่เติบโตเร็วที่สุดกองทุนหนึ่งในบรรดากองทุน Trend Following (CAROR = 15.57%, MaxDD = –25.59%, Inception Oct 1997)

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆคนที่โด่งดังมานานมากๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Larry Hite และ Bill Dunn เจ้าพ่อ TF รุ่นเก๋า หรือแม้กระทั่ง John W. Henry ซึ่งตอนนี้ก็คือเจ้าของทีมฟุตบอล Liverpool รวมถึงลูกศิษย์ในสาย Turtle Trader อีกมากมายด้วยเช่นกัน

การลงทุนอย่างเป็นระบบ Systematic Trading ใช้ได้จริงหรือไม่!?

“เล่นหุ้นตามระบบซื้อขายแบบตายตัวมันจะไปทำกำไรได้อย่างไร ถ้าไม่งั้นทุกคนก็รวยกันง่ายๆหมดแล้ว มันต้องดูปัจจัยอีกหลายๆอย่างประกอบด้วย!!”

สำหรับผู้ที่ยังคิดแบบนี้หรือมีเพื่อนๆที่คิดอย่างนี้ ภาพการเติบโตของดัชนี Systematic Trader น่าจะให้คำตอบและหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับคนเหล่านี้ได้ครับ

IASG Systematic Trader Index

ผลตอบแทนรายปีของดัชนี Systematic Trader Index โดยเว็บไซท์  http://www.IASG.com

Year
YTD DD
2012 1.1 3.36
2011 -2.24 5.66
2010 13.45 2.79
2009 -0.62 3.64
2008 32.81 4.16
2007 14.64 4.72
2006 10.66 5.92
2005 7.79 5.37
2004 8.19 10.6
2003 17.87 7.11
2002 24.06 7.36
2001 9.22 7.09
2000 21.92 3.1
1999 3 6.7
1998 22.99 5.5
1997 21.06 5.58
1996 25.48 8.71
1995 33.49 7.29
1994 2.66 9.71
1993 40.65 2.26
1992 -0.69 18.92
1991 19.52 9.79
1990 85.09 10.72
1989 25.11 23.34
1988 37.9 13.04
1987 88.94 10.85
1986 10.94 25.95
1985 32.73 24.4
1984 29.82 6.27
1983 -3.69 9.1
1982 37.5 8.22
1981 47.29 7.68
1980 72.99 2.28
1979 66.62 1.57
1978 30.14 14.91
1977 13.06 9.78

สำหรับในส่วนของดัชนีของกองทุนซึ่งทำการเก็งกำไรอย่างเป็นระบบหรือ Systematic Trader Index มันได้แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนทบต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีค.ศ. 1977 จนถึงปัจจุบันที่ 23.43% ต่อปี และมี Max Drawdown อยู่ที่เพียง -25.95% เท่านั้น! (การลงทุนอย่างเป็นระบบมีมายาวนานกว่าที่หลายๆคนคิดนะครับ ^_^) นี่ถือเป็นผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ถือว่าสูงและดีมากๆเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับดัชนีซึ่งเป็น Benchmark และกองทุนส่วนใหญ่ โดยกองทุนพวกนี้ก็เช่น

  • Mark J. Walsh Company ซึ่งก่อตั้งโดย Mark J. Walsh ผู้ซึ่งไม่ใช่ Turtle Trader แต่สนิทสนมกับ Richard Dennis ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Turtle Trader (CAROR = 20.67%, MaxDD = –43.04%, Standard Program Inception Since Sep 1985)
  • Tactical Investment Management ซึ่งก่อตั้งโดย David Druz ผู้เป็นลูกศิษย์เอกของ Ed Seykota ยอดนักเก็งกำไรสุดชิลผู้แต่งเพลง The Whipsaw Song ที่ผมเคยทำ Subtitle เอาไว้ตั้งแต่ปีแรกๆ (CAROR = 19.23%, MaxDD = –36.52%, Tactical Institutional Commodity Program Inception Since April 1993)
  • กองทุน EMC Capital โดย Liz Cheval ลูกศิษย์ของกลุ่ม Turtle Trader รุ่นแรก (CAROR = 21.68%, MaxDD = –45.35%, Classic Program Inception Since Jan 1985)
  • กองทุน Clarke Capital Management โดย Micheal Clarke ผู้ช่ำชองการเก็งกำไรโดยใช้ระบบโดยอาศัยการเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 และถูกจัดอันดับอยู่เป็น Top Trader ในนิตยสาร Futures Magazine ถึง 3 ครั้งในปี 1993, 2000, 2007 (CAROR = 22.65%, MaxDD = –46.51%, Global Basic Program Inception Since Feb 1996)
  • กองทุน Trantrends โดยกลุ่ม CTA ซึ่งเชี่ยวชาญการสร้างระบบการเทรดจากประเทศเนเธอร์แลนด์ (CAROR = 15.04%, MaxDD = –15.15%, Transtrend Diversified Trend Program – Enhanced Risk (USD) inception Since Jan 1995)

แน่นอนว่ายังมีกองทุนขนาดใหญ่อีกหลายๆกองซึ่งมีการบริหารงานและกลยุทธ์เก็งกำไรในรูปแบบของ Systematic Trading อยู่อีกมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจของกองทุนเหล่านี้อย่างหนึ่งก็คือ พวกเขามักที่จะใช้กลยุทธ์ Trend Following แบบกินคำใหญ่ด้วยเช่นกัน เพียงแต่เป็นการ Trade แบบ Systematic 100% เราจึงเห็นได้ว่าพวกมันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

*** ข้อสังเกตุที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราจะสังเกตุได้ว่าในปีที่ตลาดโดยรวม (ทั้งโลก) ย่ำแย่นั้น บรรดากองทุน Systematic Trend Following เหล่านี้ยังกลับให้ผลตอบแทนโดยรวมที่ดีเอามากๆเสียด้วย (ยกตัวอย่างเช่นปีค.ศ. 2008 ในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์) ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะพวกเขาไม่ยึดติดอยู่กับทิศทางของตลาดแต่รู้จักทำกำไรจากมันทั้งขาขึ้นและขาลง โดยผลกำไรที่เกิดขึ้นในวิกฤติเหล่านี้ก็เป็นผลมาจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในตลาดนั่นเอง

แล้วผลการลงทุนของกลยุทธ์การเก็งกำไรในรูปแบบอื่นๆล่ะ!?

ความจริงแล้วยังมีกองทุนซึ่งใช้กลยุทธ์การเก็งกำไรที่แตกต่างออกไปไม่ว่าจะเป็น Counter Trend, High Frequency Trading, Momentum, Pattern Recognition หรือแม้แต่ Fundamental Trading ซึ่งก็สามารถที่จะทำกำไรอย่างงดงามได้ในระยะยาวอยู่อีกมากเช่นกัน (ทั้งแบบใช้การตัดสินใจจากวิจารณญาณ Discretion Trading และแบบเป็นระบบ Systematic Trading) อย่างไรก็ตาม ผมคงไม่สามารถที่จะเอาข้อมูลทั้งหมดมาลงให้ครบได้ (เนื่องจากมันเยอะเหลือเกิน) แต่เท่านี้ก็น่าจะเป็นหลักฐานและคำตอบที่เพียงพอให้กับหลายๆคนได้ว่า

“นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้นมีอยู่จริงและมีอยู่มากมาย!! นอกจากนี้พวกเขาก็สามารถที่จะสร้างผลการลงทุนที่ให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ดีมากๆเสียด้วย”

ผมหวังว่าบทความในภาคต่อชิ้นนี้จะช่วยเป็นกำลังใจและคำบอกใบ้ต่อแนวทางการศึกษาค้นหาข้อมูลให้กับทุกๆคนที่สนใจในการเก็งกำไรแบบ Trend Following หรือลงทุนอย่างเป็นระบบได้อีกพอสมควร นอกจากนี้แล้วมันก็น่าจะช่วยเปิดหูเปิดตาให้กับนักลงทุนไทยหลายๆคน ซึ่งมักที่จะปิดกั้นตัวเองหรือมีอคติที่เลวร้ายต่อการเก็งกำไรด้วยเช่นกันด้วย ซึ่งผมเองไม่ได้ต้องการที่จะมา Bluff อะไรกับใครแต่อยากจะบอกแค่ว่า

บางทีแล้วสิ่งที่เราเห็นอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ หรือสิ่งที่เราไม่เห็นก็อาจเป็นเพียงเพราะเราไม่อยากที่จะมองเห็นมันก็ได้ …

และผมคิดว่านี่เป็นทัศนคติที่อันตรายมากๆในการที่เราจะเอาตัวรอดและทำกำไรในโลกทุนนิยมที่โหดร้ายขึ้นทุกวัน การเปิดตามองสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นรอบๆควรเป็นกิจวรรตประจำวันของนักลงทุนทุกๆคน เครื่องมือหรือไสตล์การลงทุนต่างๆไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย (หากเรารู้จริง) สิ่งที่เลวร้ายมักเป็นตัวของเราเองต่างหาก

ขอให้โชคดีมีกำไรทุกๆคนครับ!

** ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์ http://www.barclayhedge.com, http://www.IASG.com และhttp://www.managedfuturestodaymag.com/ ใครสนใจอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองไปอ่านๆดูกันนะครับ ^_^

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)