ความยั่งยืนของระบบการลงทุนในมุมมองของ Dave Druz
ความเข้าใจผิดหลายๆประการของนักเล่นหุ้นทั่วไปเกี่ยวกับระบบการลงทุนที่มีความยั่งยืนสูงนั้น คือพวกเขามักที่จะเชื่อว่ามันคือระบบที่มีความแม่นยำสูงที่สุด หรือทำกำไรได้มากที่สุด หรือแม้กระทั่งให้ผลตอบแทนที่มี Smooth Equity Curve ที่สุด แต่แท้จริงแล้วนี่อาจไม่ใช่บุคลิกที่แท้จริงของมันอย่างที่เราส่วนใหญ่เข้าใจกันก็ได้ และนี่คือส่วนหนึ่งของมุมมองจากสุดยอดของ System Trader คนหนึ่งนั่นก็คือ Dave Druz เกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบการลงทุน ที่ผมนำมาฝากกันในวันนี้ครับ :)
ทัศนะของ Dave Druz เกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบการลงทุน
“แท้จริงแล้วความยั่งยืนของระบบการลงทุนใดๆนั้น คือความสำพันธ์ที่เป็นสัดส่วนกับค่าความผันผวนของผลตอบแทนในระยะสั้นของพวกมัน คุณไม่มีทางที่จะได้อะไรมาฟรีๆหรอก ระบบการลงทุนที่ยั่งยืนนั้น คือระบบซึ่งสามารถทำกำไรได้ในระยะยาวอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะต้องเจอกับสภาวะของตลาดในรูปแบบและคาบเวลาใดๆก็ตาม เช่น มันควรที่จะใช้ได้กับทั้ง German Bund Futures หรือแม้กับในตลาดข้าวสาลี (Wheat Market) และมันก็ควรที่จะใช้ได้ไม่ว่าเราจะทดสอบมันช่วงปี 1950-1960 หรือแม้แต่ในปี 1990-2000 ด้วยเช่นกัน
ระบบการลงทุนที่มีความยั่งยืนนั้น มักที่จะถูกออกแบบมาจากต้นแบบของกลยุทธ์การลงทุนที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงระบบการบริหารเงินทุน (Money Management) ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่อิงมาจากพฤติกรรมของตลาดอย่างแท้จริง ระบบการลงทุนเหล่านี้มักไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ “ลงรอย” กับตลาดใดๆ หรือกับสภาวะตลาดเพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น
และสิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้คือสิ่งที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับระบบการลงทุนที่มีความยั่งยืน … ยิ่งระบบการลงทุนของคุณมีความยั่งยืนและเสถียรในระยะยาวมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมีความผันผวนเป็นอย่างมากในระยะสั้น!! นี่เป็นเพราะระบบการลงทุนที่ยั่งยืนเหล่านี้ไม่ได้ถูกออกแบบและปรับแต่งมาเพื่อตลาดใดๆ หรือเพื่อสภาวะบางอย่างเท่านั้นนั่นเอง และนี่เป็นข้อเท็จจริงที่คุณไม่มีทางที่จะเถียงมันได้เลย ถึบแม้ว่าคุณอาจสามารถที่จะออกแบบระบบให้มีผลตอบแทนอย่างยอดเยี่ยม พร้อมทั้งให้ความผันผวนของผลกำไรที่ต่ำมากๆออกมาได้ แต่มันก็จะสามารถใช้ได้จริงๆแค่เพียงในบางช่วงเวลา และกับเพียงตลาดบางตลาดเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ระบบการลงทุนพวกนี้มักที่จะถูกปรับแต่งให้ลงรอยกับตลาดจนมากเกินไป (Curve Fit) อีกด้วย
ดังนี้แล้ว ในการที่ระบบการลงทุนใดๆจะสามารถให้ความน่าจะเป็นในการที่จะทำกำไรในระยะยาวออกมาได้อย่างสม่ำเสมอนั้น ข้อแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงไปไม่ได้เลยก็คือความผันผวนในระยะสั้นนั่นเอง และถึงแม้ว่าคุณจะพยายามใช้การกระจายความเสี่ยงเข้ามาอย่างไร มันก็จะช่วยให้ความผันผวนที่เกิดขึ้นลดลงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”
ประวัติโดยย่อของ David S. Druz (Dave Druz)
David S. Druz คือสุดยอด System Trader และ Trend Follower คนหนึ่งในยุคปัจจุบันซึ่งมีประสบการณ์ในการลงทุนมากว่า 35 ปี เขาคือผู้ก่อตั้งกองทุน Tactical Investment Management ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปัจจุบัน เขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างระบบการลงทุน และมักที่จะถูกร้องขอเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ, ทดสอบและการนำระบบการลงทุนต่างๆไปใช้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้เขายังได้รับอิทธิพลในการลงทุนเป็นอย่างมากจาก Ed Seykota และเคยได้ทำวิจัยและเขียนบทความที่น่าสนใจร่วมกับ Seykota ชิ้นหนึ่งด้วยนั้นก็คือบทความเกี่ยวกับ Portfolio Heat (ซึ่งผมเคยได้แปลมาให้ได้ศึกษากันไว้แล้ว คลิ้ก! ไปอ่านได้เลยครับ :D)
หนึ่งในผลตอบแทนการลงทุนของกองทุนใน Tactical Investment Management ของเขาตั้งแต่ปี 1993 จนถึงปัจจุบัน :
Institutional Commodity Program
Compound Annual Returns through March 2011
Since Inception
21.7 %
Last 15 years
21.7 %
Last 10 years
22.4 %
Last 5 years
25.9 %
Last 1 year
56.6 %
Monthly and Annual Returns (%) | |||||||||||||
Computed on a compounded monthly basis (daily for months having additions or withdrawals) | |||||||||||||
Jan | Feb | Mar | Apr | May | Jun | Jul | Aug | Sep | Oct | Nov | Dec | Annual | |
2011 | -8.39 | 9.45 | -7.67 | -7.42 | |||||||||
2010 | -1.63 | -3.23 | 4.88 | 2.26 | -2.40 | 3.24 | -0.54 | -1.42 | 19.98 | 18.27 | 9.23 | 10.55 | 68.90 |
2009 | 0.30 | -1.12 | -8.39 | -2.65 | 15.67 | -3.40 | 5.33 | 10.29 | -1.99 | -1.49 | 10.46 | -1.98 | 20.00 |
2008 | 8.09 | 21.39 | -7.18 | 0.14 | 2.05 | 6.78 | -12.30 | -1.64 | -1.15 | 26.62 | 1.38 | 1.98 | 48.35 |
2007 | -6.33 | -1.68 | -7.15 | 8.58 | -0.61 | 6.76 | -1.66 | -10.49 | 26.03 | 3.69 | -7.52 | 1.91 | 6.84 |
2006 | 16.31 | -6.10 | 6.94 | 15.83 | 1.00 | -2.61 | -10.06 | 4.52 | -4.15 | -0.28 | 8.02 | -3.79 | 24.26 |
2005 | -4.20 | 1.12 | -3.78 | -3.03 | 4.16 | -0.47 | -3.80 | 6.90 | 0.71 | -4.01 | 9.14 | 5.22 | 6.98 |
2004 | 4.51 | 14.38 | 1.44 | -18.94 | -7.83 | -7.31 | 6.49 | -3.17 | 5.98 | 4.00 | 12.75 | 0.39 | 8.04 |
2003 | 10.47 | 9.08 | -7.41 | 4.31 | 6.11 | -6.42 | -7.00 | 0.34 | 1.71 | 12.69 | -2.04 | 6.75 | 29.26 |
2002 | -5.52 | 0.90 | -0.43 | -3.55 | 9.82 | 9.78 | 3.65 | 4.48 | 3.59 | -3.01 | 2.27 | 9.58 | 34.58 |
2001 | -1.79 | 2.46 | 13.89 | -7.74 | 3.04 | 3.61 | -3.37 | 1.99 | 5.29 | 8.13 | -9.62 | 1.55 | 16.26 |
2000 | 3.82 | -0.18 | -4.05 | 1.34 | 8.37 | -3.59 | -1.20 | 3.46 | -1.01 | 4.57 | 9.67 | 8.64 | 32.74 |
1999 | -9.34 | 1.84 | -7.46 | 3.90 | -8.46 | -1.69 | 0.75 | 2.46 | 4.66 | -12.91 | 2.85 | 3.21 | -20.21 |
1998 | -1.04 | -3.36 | -1.72 | -3.55 | 3.27 | 4.67 | -0.84 | 16.37 | -1.51 | -1.66 | -5.15 | 8.74 | 12.97 |
1997 | 9.12 | 8.51 | -1.67 | -4.86 | 6.84 | -9.36 | 12.24 | 3.86 | 4.03 | -2.05 | 0.13 | 3.93 | 32.59 |
1996 | -6.84 | -3.29 | 4.35 | 26.14 | -5.15 | 0.52 | -6.38 | 4.17 | 7.35 | 8.53 | 8.96 | -6.33 | 31.11 |
1995 | -5.92 | 1.62 | 12.88 | 5.32 | 11.17 | 0.33 | -5.94 | -4.53 | -2.33 | 1.62 | 5.25 | 26.28 | 50.17 |
1994 | -10.55 | -11.64 | 0.83 | 0.23 | 8.46 | 2.69 | -3.59 | -5.64 | 3.48 | 2.70 | 12.71 | 2.78 | -0.36 |
1993 | 1.75 | 5.47 | 3.10 | 13.16 | 4.84 | -6.22 | -3.53 | 4.13 | 3.49 | 28.00 |
- ช่องขาวแสดงถึงผลกำไร ส่วนช่องทึบแสดงถึงผลการขาดทุน
- ผลที่เกิดขึ้นคือการ Mark to Market ของ Equity ในแต่ละเดือน (ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผลจากการขายหน่วยลงทุนใดๆออกมา)
- ที่มา http://www.tacticalnet.com/TacticalInstitutionalFutures.php
ปล. จุดมุ่งหมายในการแสดงผลการลงทุนของเขาไม่ใช่เพื่อการโฆษณาหรือเป็นนายหน้าให้กองทุนเขานะครับ แต่ผมนำมาแสดงให้ดูเนื่องจากต้องการที่จะให้พวกเราเห็นว่าแท้จริงแล้ว Performance ของคนเก่งๆระดับโลกเขาเป็นอย่างไร ซึ่งอาจแตกต่างกับความเชื่อของคนทั่วๆไปโดยเฉพาะแมงเม่าหลายๆคนที่โดนหลอกว่า Holy Grail มีอยู่จริง หรือจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อจะสามารถทำกำไรจากการเล่นหุ้นได้ครับ :D