แนะนำหนังสือหุ้นน่าอ่าน Trade Like an O’Neil Disciple และสัญญาณเทรดหุ้น The Pocket Pivot Buy Point!
รีวิวหนังสือหุ้นคราวนี้ ผมขอนำหนังสือหุ้นที่พึ่งจะออกมาในปีที่แล้วมาเล่าให้ฟังกันครับ หนังสือหุ้นเล่มนี้ร่วมกันเขียนโดย Gil morales และ Chris Kacher ซึ่งเคยเป็น Trader ให้กับ William O’Neil (เซียนหุ้นต้นตำหรับของสูตรเด็ด C-A-N-S-L-I-M ที่ทุกคนน่าจะพอรู้จักกันดี) โดยพวกแต่ละคนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึงกว่า 18,000% ภายในระยะเวลา 7 ปีเลยทีเดียว
เรื่องคุณภาพของหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงครับ พูดได้เต็มปากว่าอ่านสนุกและคิดว่าดีมากเลยทีเดียว (ใจจริงผมชอบมากกว่าเล่ม Original ของ O’Neil ที่ชื่อว่า How to make money in the stocks market เสียอีก) โดยที่เนื้อหานั้นจะคลอบคลุมเกี่ยวกับการเล่นหุ้นในสไตล์ Momentum Investor หรือแบบ CANSLIM ทั้งในด้าน ทัศนคติ, จิตวิทยาการลงทุน, Money Management และ ระบบการเล่นหุ้น-วิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคและพื้นฐานของพวกเขา
ทีเด็ดของหนังสือหุ้นเล่มนี้มีหลายอย่างมากครับ ตัดสินใจยากที่จะบอกว่าอะไรเด็ดสุด แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบที่มีการลงรายละเอียดคล้ายๆกับ Study Case ในการเทรดจริงๆที่ผ่านมาของพวกเขา ว่าพวกเขาสามารถที่จะทำกำไรถึง 18,000% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 ปีได้อย่างไร (ใช่ครับ 180 เท่าครับ อ่านไม่ผิด อิอิ) อีกทั้งยังมีน้ำจิ้มสูตรเด็ดการเข้าซื้อหุ้นแบบใหม่ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นมา นั่นก็คือ “The Pocket Pivot Buy Point” ที่จะทำการเข้าซื้อตั้งแต่ราคาหุ้นยังอยู่ในกระเป๋าหรือ “หลุม” (ยังไม่ Breakout) ซึ่งเป็นจุดซื้อที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งผมจะทำการสรุปให้อ่านกันคร่าวๆในบทความนี้ครับ (คิดว่าน่าจะเป็นบทความแรกในไทยอีกแล้วครับท่าน หุหุ) อ่านเสร็จแล้วใครสนใจก็ลองหาซื้อมาอ่านได้นะครับ คุ้มค่าแน่นอน และเป็นหนังสือหุ้นที่ควรต้องอ่านครับผม
Gill morales ,John Kozey นักวิเคราะห์หุ้นจาก Reuters และ Chris Kacher
สุดท้ายนี้ผมจะขอนำเอาบางส่วนของหัวข้อที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้มาให้ได้อ่านกันดูนะครับ น่าจะถูกใจกันพอสมควร :D
The Pocket Pivot Buy Point : สัญญาณซื้อหุ้นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสาวก CANSLIMer!
สัญญาณ Pocket Pivot Buy Point (PPBP) นั้นเกิดขึ้นมาจากห้องทดลองการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคของ Dr. Kris Kacher (Dr.K Laboratory) ในปี 2005 โดยเป็นผลมาจากการที่พวกเขาพยายามที่จะมองหาสัญญาณบางอย่างในการช่วยกำหนดจุดซื้อ เมื่อตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ Sideway เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะโดน Whipsaw จากสัญญาณ Breakout แบบดั้งเดิมที่มักจะเกิดขึ้นจากตลาดในช่วงแบบนี้ สำหรับความหมายของสัญญาณ PPBP นั้น ผมขออ้างโดยย่อมาจากหนังสือเลยนะครับ
“มันคือตัวชี้นำล่วงหน้าของสัญญาณ Breakout ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อหาจุดเข้าซื้อ ในขณะที่หุ้นยังอยู่ในช่วงของการสร้างฐาน ก่อนที่มันจะทำการ Breakout จากฐานของมันขึ้นไปจริงๆ” โดยที่สัญญาณ PPBP นั้นจะช่วยบอกให้เราพอรู้ถึงทิศทางที่หุ้นอาจวิ่งไปต่อในขณะที่สถานการณ์ต่างๆยังค่อนข้างที่จะกำกวมอยู่ มันจึงมีประโยชน์อย่างมาก ในการที่จะช่วยหาจุดซื้อในขณะที่แนวโน้มราคายังอยู่ในช่วง Sideway นั่นเอง
สุมมุติฐานเบื้องหลังของสัญญาณ Pocket Pivot Buy Point
สำหรับเหตุผลหรือหลักการเบื้องหลังของสัญญาณชนิดนี้นั้น เกิดขึ้นจากการที่พวกเขาได้กล่าวไว้ว่า
“เราได้ค้นพบว่าเหล่ากองทุนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Hedge Funds, Mutual Funds หรือ Pension Funds ต่างก็ไม่พอใจเท่าไหร่ ในการที่พวกเขาจะต้องเข้าซื้อหุ้นเมื่อมันพึ่งจะ Breakout ขึ้นมาจากแนวต้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พวกเขาต่างยินดีที่จะซื้อหุ้นไกล้ๆจุดต่ำสุดของพวกมันมากกว่า และอาจหมายถึงว่ายิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งดีขึ้นด้วย และแน่นอนว่าหากเราลองกลับมานั่งคิดดูให้ดีสักนิด เราจะตระหนักได้ว่าผู้ที่สร้างจุดต่ำสุดหรือฐานของราคาหุ้น ก็คือเหล่ากองทุนพวกนี้นั่นเอง” ดังนั้น “สมมุติฐานของ PPBP จึงเป็นสิ่งที่ง่ายมากๆนั่นก็คือ หากว่าแรงซื้อจากเหล่ากองทุนทั้งหลายนั้น คือสิ่งที่สร้างฐานราคาก่อนที่หุ้นแต่ละตัวจะวิ่งทะลุแนวต้านขึ้นไปนั้น เราจึงอาจสามารถจะตั้งสมมุติฐานไว้ได้ว่า หลักฐานหรือร่องรอยบางอย่างของพวกมัน ควรที่จะถูกแสดงให้เห็นออกมาในส่วนด้านล่างของรูปแบบการปรับฐานของราคานั่นเอง ซึ่งมันน่าจะช่วยให้เราได้รับสัญญาณการเข้าซื้อที่มีความเสี่ยงต่ำลงมา โดยเฉพาะเมื่อมันเกิดขึ้นกับหุ้นที่เป็นตัวนำของตลาดในขณะนั้น” และ “เราจะสามารถค้นพบหลักฐานเหล่านี้ได้ จากทั้งในกราฟวัน (Daily Chart) และกราฟรายสัปดาห์ (Weekly Chart) แต่เราจะเลือกใช้กราฟวัน ในการที่เราจะตัดสินได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือสัญญาณ PPBP”
ลักษณะพื้นฐานของ Pocket Pivot Buy Point
จากที่พวกเขาได้เขียนไว้ในหนังสือนั้น เขาได้ระบุเอาไว้ดังนี้
“แนวโน้มของราคาหุ้นควรที่จำแสดงให้เห็นถึงการปรับฐานอย่างมั่นคง (Constructive Patter) ก่อนที่จะเกิดสัญญาณ PPBP ขึ้น โดยเฉพาะยิ่งฐานราคาที่เกิดขึ้นแน่นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี (เราควรที่จะเห็นว่าความผันผวนของราคาหรือ Volatility นั้นน้อยมากๆ) นอกจากนี้แล้ว แนวโน้มราคาของหุ้นก็ควรที่จะเคารพหรือยอมรับเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันของพวกมันในขณะที่เกิดการปรับฐานอยู่ (ไม่หลุด) ยกเว้นในบางกรณีเท่านั้นที่เราควรจะเข้าซื้อเมื่อพวกมันเกิดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันขึ้นไปมากๆ โดยในสัญญาณที่สมบูรณ์แบบนั้น พฤติกรรมของราคา/โวลุ่ม ควรที่จะทำตัวเงียบๆหลายๆวันก่อนที่จะเกิดสัญญาณขึ้น ซึ่งจะตรงกับข้ามกับวันที่เกิดสัญญาณ เพราะในวันที่เกิดสัญญาณขึ้นมานั้น เราควรที่จะเห็นว่าราคาได้วิ่งขึ้นไปอย่างรุนแรง และโวลุ่มการซื้อขายของมันได้เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ โวลุ่มที่เยอะที่สุดในวันที่ราคาหุ้นตกลงมาภายใน 10 วัน”
ข้อสรุปและการตีความหมายของ Pocket Pivot Buy Point ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จากที่ผมได้แปลออกมานั้น เราจะเห็นได้ว่ามันยังมีความกำกวมบางอย่างจากภาษาที่ใช้ เนื่องจากพวกเขาก็ไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พวกเขาให้ความหมายของ “การปรับฐานอย่างมั่นคง หรือ Contructive Pattern” เอาไว้ว่าพวกเขาชี้วัดมันอย่างไร หรือแม้แต่ในกรณีที่บอกว่า “ฐานราคายิ่งแน่น และความผันผวนลดลง” นั้น เราจะสามารถชี้วัดด้วยอะไรไว้อย่างชัดเจน ซึ่งนี่อาจทำให้เกิดความสับสน หรือเกิด Bias จากทัศนคติของคนที่นำไปใช้จริงๆขึ้นมานั่นเอง ดังนั้น ถึงแม้ว่าสัญญาณ PPBP จะเป็นสิ่งน่าสนใจ แต่เราก็ควรทำความเข้าใจหรือสร้างตัววัดอย่างชัดเจนขึ้นมาก่อนนำไปใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในขณะลงทุนครับ
ตัวอย่างของการเกิดสัญญาณ Pocket Pivot Buy Point ในตลาดหุ้นไทย
* ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหุ้นใดๆนะครับ แค่หยิบตัวที่มันเคยมีสัญญาณชัดๆมาให้ดูเป็นตัวอย่างกันเฉยๆ *
** สัญญาณที่เกิดขึ้น เป็นการ Define ความหมายของ PPBP ตามความเข้าใจของผมนะครับ บางท่านอาจไม่เหมือนกัน เพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ที่พวกเขาได้เขียนเอาไว้ **
*** ใครที่อยากเปิดดูภาพชัดๆให้ click ขวาแล้ว Open in new tab เอานะครับ ***
[nggallery id=6]
วันนี้พอเท่านี้ก่อน เดี่ยวมีเวลาจะมาต่อ Series นี้ให้ครับ ชักมันส์มืออยากเขียนต่อ ส่วนใครอยากอ่านลองไปที่หน้า Download ได้ครับ :D