ความเหมือนที่แตกต่าง ของสุดยอดปรมาจารย์แห่งการลงทุน !
ผมขอประเดิม แมงเม่าคลับ.คอม ด้วยแนวคิดการเล่นหุ้นของ 2 สุดยอดปรมจารย์แห่งโลกการลงทุนละกันนะครับ คนหนึ่งเป็น “สุดยอดนักเก็งกำไร” อีกคนหนึ่งเป็นเหมือนผู้นำทางจิตวิญญาณของ“นักลงทุนพื้นฐานระยะยาว” ( ว่าไปโน่น *_^ ) ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรที่เหมือนกันได้ในหลักการลงทุนและวิธีัการเล่นหุ้นแต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า…. สไตล์ และวิธีการเล่นหุ้น เป็นเหมือนเพียงกับเพียงกระบวนท่าที่แตกต่างกันไป หากแต่มองให้ลึกลงไปถึง หลักปรัชญา ในการลงทุนและเก็งกำไรแล้ว กลับคล้ายกันเหลือเกิน ต่างแค่เพียงคำพูดเท่านั้น เชื่อว่าพอจะเดากันออกแล้วไช่ใหมครับ ไช่แล้วครับเขาทั้งคู่ก็คือ …..
วันนี้ผมนำบางส่วนจาก หนังสือหุ้น The Winnig investment Habit of Warren Buffet and George Soros มาย่อยให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาๆ แต่ความธรรมดาสามัญมักจะซ่อนไว้ด้วยปัญญาเช่นกัน
“ กฏข้อแรกของการลงทุนก็คือ อย่ายอมเสียเงิน
กฏข้อที่สองของการลงทุนก็คือ อย่าลืมข้อแรก ”
วอร์เรน บัฟเฟต
………………………………………………………….
“ อยู่ให้รอดก่อน แล้วค่อยทำกำไร ”
จอร์จ โซรอส
นี่คือหลักการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ของทั้ง Buffet และ Soros ครับ … ไช่แล้วครับผมพูดว่าหลักการลงทุน ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะไม่ได้กล่าวถึงการ เลือกหุ้น หรือทำกำไร แต่สิ่งที่ทั้งสองคน ยึดมั่นและถือมั่นเลยก็คือนี่ครับ หลักแห่งการรักษาเงินต้นเอาไว้ Preservation of Capital is always priority !!!
หากใครที่เคยได้อ่านประวัติเรื่องราวชีวิตของ Soros มาบ้างจะรู้ว่าเขาเคยติดอยู่ในค่ายนาซีถึงสองครั้งในชีวิตนะครับ ย้ำว่าสองครั้ง ผมก็ไม่ทราบได้ว่าเขารอดมาได้อย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ Soros เคยกล่าวไว้ก็คือ พ่อของเขาได้ทำให้เขาเห็นหลักในการดำเนินชีวิต ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การเอาตัวรอดครับ เพราะพ่อของเขาเป็นผู้ที่หาวิธีการต่างๆจนทำให้ครอบครัวของเขาอยู่รอดมาได้และเขาเองก็ได้บอกว่านี่เป็นหลักสำคัญทั้งในการดำเนินชีวิตและการเล่นหุ้นเก็งกำไรของเขาเช่นกัน และบางทีความกลัวที่ติดอยู่ในใจของเขา อาจจะทำให้เขาเป็นคนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากกว่า Buffet ก็เป็นไปได้นะครับ
ในทางกลับกันแล้วสำรับ Buffet ที่เติบโตขึ้นในยุค ตกต่ำของเศรษฐกิจที่อเมริกาความยากจนทำให้เขาเติบโตมาพร้อมกับ ความมัถยัด และความอยากรวยของเขา เขาเป็นคนที่มีมุมมองเกี่ยวกับการใช้เงินที่เหลือเชื่อเอาการตั้งแต่วัยเด็กครับ ความคิดของเขาก็คือว่า เขาจะไม่คิดว่าเงิน 5 บาทในวันนี้มีค่า 5 บาท แต่เขาจะคิดไปถึงว่า เงินในวันนี้ถ้าไม่ได้จ่ายไป ในอีก x ปีข้างหน้ามันจะมีค่าเท่าไหร่ อาจเป็น 10 ,20, 30 บาทแทนก็เป็นไปได้ และนี่แหละครับก็เป็นสิ่งที่ทำให้บัฟเฟต รู้จักกับกฏการลงทุนของเขาตั้งแต่ยังเยาว์วัย นั่นก็คือ “อย่ายอมเสียเงิน”นั่นเองเพราะจะทำให้เขา รวยช้าลง หรือจนขึ้นในวันข้างหน้านั่นเองครับ แหม่ๆคนมันเกิดมาเพื่อจะรวยจริงๆครับ ตอนเด็กๆผมยังไม่ได้คิดอะไรเลยนอกจากเตะฟุตบอลเท่านั้นเอง 55
หลักการ รักษาเงินต้น นั้นค่อนข้างจะขัดกับความเชื่อและความเข้าใจของเหล่าแมงเม่าหรือคนทั่วไปอย่าง คุณหรือผม พวกเรามักจะเข้าใจและเชื่อว่า High risk – High Return เราคิดว่าการจะทำกำไรได้เยอะๆนั่นย่อมหมายถึงการยอมเสี่ยงที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันแล้วสำรับ ทั้ง Buffet และ Soros กลับเห็นว่านั่นเป็นทางที่ผิดเนื่องจาก หากเราเสี่ยงมากเมื่อผิดพลาดเท่ากับว่าเงินต้นของเราจะหายไปมากมายเช่นกัน และเมื่อเงินต้นของเราได้หายไปอย่างมากแล้ว การจะทำกำไรก้อนใหญ่นั้นจะยากยิ่งกว่าเดิม แค่กลับมาเท่าทุนก็อ่วมแล้ว และนี่เป็นเหตุผลที่มีคนล้มหายตายจากไปจากตลาดหุ้นอย่างมากมาย ในทางกลับกันหากสามารถรักษาเงินต้นเอาไว้ได้ แม้จะไม่ได้มากเท่าเดิม แต่ก็จะทำให้เรายังมีโอกาศทำกำไร ครั้งใหม่เอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราคัดสรร เฉพาะ เทรดที่มีความชัวร์ ไม่เทรดมั่วแล้ว โอกาศเล่นหุ้นแล้วรวย( รึปล่าว )ก็คงอยู่ไม่ไกลครับ
พูดไปพูดมาก็ชักจะยาวเกินไปแล้ว เห็นใหมครับว่าแท้จริงแล้วแม้ดูจะแตกต่าง แต่แนวคิดพื้นฐานกลับเหมือนกัน ผมจะพยายามเขียนให้กระชับในครั้งต่อๆไปนะครับ เพราะกลัวมันจะลายตาเกินไป แต่ถ้ายังอ่านกันใหว ก็ขอขอบคุณนะครับ ช่วยกันแชร์ความคิดได้นะครับ :) ก่อนไปขอฝากประโยคเตือนใจจาก พ่อมดตลาดหุ้นอีกคนหนึ่งนั่นคือ Larry Hite ซึ่งขณะนี้เป็นผู้จัดการกองทุน Hite Capital Management ไว้แล้วกันนะครับแล้วเจอกันใหม่ที่นี่ แมงเม่าคลับ.คอม ครับ
“ ถ้าคุณไม่กล้าเสี่ยง คุณก็ไม่มีโอกาศที่จะชนะ แต่ถ้าคุณเสี่ยงจนหมดตัว คุณก็จะไม่เหลืออะไรให้เสี่ยงอีกเลย ”
Larry Hite, The Market Wizard.