fbpx
วิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

การเมือง … กับการลงทุนอย่างเป็นระบบ

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

จากอุณหภูมิการเมืองที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆในขณะนี้ทำให้นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่เกิดความกังวลกันกันถ้วนหน้าว่าพวกเขาควรจะเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิดกันอย่างไร บ้างก็กลัวขาดทุนเพิ่มเพราะถือหุ้นอยู่เต็มพอร์ท บ้างก็กลัวว่าจะขายหมูหากสถานการณ์ไม่เลวร้ายอย่างที่คิด แต่หากจะถามผมแล้ว ผมเชื่อว่าความวิตกกังวลเหล่านี้นั้นไม่ควรที่จะเกิดขึ้นเลยหากคุณรู้จักทำให้การลงทุนของคุณนั้นมีระบบที่ชัดเจน … ทำไมน่ะหรือครับ!? คำตอบก็เพราะในที่สุดแล้วระบบที่ดีจะดูแลตัวของมันเองอยู่เสมอ และสิ่งที่คุณควรทำทั้งหมดก็คือรักษาวินัยและทำตามระบบหรือแผนการของคุณไปให้ดีที่สุดนั่นเอง

การเมืองไม่ใช่เรื่องใหญ่

ด้วยความที่ในช่วงนี้มีแต่คนเข้ามาถามว่าควรจะทำอย่างไรดีในช่วงเวลานี้ หรือไม่ก็จะเข้ามาเตือนว่าให้ระวังตัวให้ดีด้วยความเป็นห่วง แน่นอนว่าคำตอบของผมก็คือการตอบกลับไปว่า “ขอบคุณครับ ไม่ต้องเป็นห่วง ^_^” ที่ผมตอบกลับไปแบบนี้ไม่ใช่เพราะว่าผมหัวรั้นมั่นใจหรืออยากจะเกรียนอะไรหรอกนะครับ 55 แต่เพราะว่าผมมีข้อมูลบางอย่างจากการที่ได้ทดสอบระบบการลงทุนในหลายๆรูปแบบมาพอสมควรนั่นเอง และเพื่อที่ผมจะได้ไม่ต้องตอบหรืออธิบายให้ใครฟังซ้ำไปซ้ำมาบ่อยๆ ในวันนี้ผมจึงอยากจะเขียนแชร์ข้อมูลมูลบางอย่างตรงนั้นลงในบล็อกให้ได้อ่านกันจนทั่วถึงกัน โดยในขั้นแรกนั้น ผมจะขอให้ลองสังเกตุถึงภาพด้านล่างนี้กันดูก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นภาพการเติบโตของระบบ Trend Following ที่สุดแสนจะ Simple ธรรมดาๆจากบทความ “กับดักของรายละเอียดในตลาดหุ้น” ที่พึ่งผ่านมานั่นเองครับ

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (1)

ภาพที่ 1 : กราฟแสดงตัวอย่างลักษณะการเติบโตของเงินทุนจากระบบ Trend Following ธรรมดาๆชนิดหนึ่ง เปรียบเทียบกับผลตอบแทนแบบ Buy and Hold ของ SET Index ภายใต้ความกดดันทางการเมือง (ผมขอนำเสนอเพียงแค่ช่วง 12 ปีหลังมานี้เพราะกราฟจะยาวจนมองไม่เห็น)

บางท่านอาจกำลังสงสัยว่าผมจะให้ดูกราฟตัวนี้ทำไม? สาเหตุไม่ต้องเดาอะไรมากครับ ผมให้ดูเพราะอยากให้เห็นในสิ่งที่หลายๆคนกำลังกลัวเรื่องการเมืองจนลืมข้อเท็จจริงข้อแรกไปเสียสนิท … นั่นก็คือการที่ระบบมีการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว แม้จะผ่านพ้นวิกฤติการเมืองต่างๆมาอย่างโชกโชนก็ตามนั่นเอง!

คำถามซึ่งเป็นประเด็นสำคัญเลยก็คือ แล้วอะไรล่ะคือสาเหตุที่ทำให้ระบบสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองต่างๆมาได้ หรือมันจะเป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้นหรือไม่? คำตอบก็คือมันไม่ใช่ความบังเอิญ! แต่เป็นผลมาจากกลไกพื้นฐานของระบบ Trend Following ของมันนั่นเองครับ

ระบบที่ยั่งยืนจะดูแลตัวของมันเอง

แล้วคำว่ากลไกพื้นฐานของระบบที่ยั่งยืนมันคืออะไรอย่างนั้นล่ะ!? คำตอบก็คือสิ่งที่เหมือนกับเส้นผมบังตา และผมก็เชื่อว่าทุกๆคนนั้นทราบกันดีอยู่แล้ว นั่นก็คือการเทรดไปตามแนวโน้มใหญ่, ตัดขาดทุน, ปล่อยให้กำไรไหลไป และการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสมยังไงล่ะครับ!

กุญแจสำคัญง่ายๆของการอยู่รอดที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบก็คือการเกาะไปตามแนวโน้มใหญ่และตัดขาดทุนออกมาเมื่อเกิดความผิดปกติบางอย่างกับตลาด นั่นเพราะหุ้นส่วนใหญ่มักที่จะเคลื่อนไหวในลักษณะที่มันสัมพันธ์กัน และแน่นอนว่าเมื่อมีกลิ่นตุๆของตลาด สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ “มันมักจะมีคนวงในที่รู้ดีกว่าเราเสมอ” และนั่นจะทำให้พวกเขาพากันเทขายหุ้นออกมาจนแนวโน้มใหญ่ของหุ้นเสียหาย และมันก็จะทำให้ระบบพาคุณดีดตัวออกมาจากตลาดที่อาจกำลังเน่าเฟะอย่างไม่จำเป็นต้องรู้ตัวเลยก็เป็นได้

เอาล่ะครับ! เพื่อที่จะให้พวกเราได้เห็นภาพกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ผมขอให้ดูภาพเหล่านี้ไปพร้อมๆกันเลยนะครับ โดยจากภาพตัวอย่างที่ผมจะแสดงให้เห็นนั้น กราฟเส้นสีน้ำเงินซึ่งก็คือมูลค่าพอร์ทแบบ Total Equity, เส้นสีแดงซึ่งก็คือมูลค่าต้นทุนของทุก Positions หรือทรัพย์สินที่ระบบถือครองอยู่ในขณะนั้น และส่วนทึบสีเขียวก็คือมูลค่าของเงินสดคงเหลือในพอร์ท ซึ่งคำนวนจากเส้นน้ำเงินลบเส้นแดงนั่นเอง โดยสิ่งที่คุณกำลังจะเห็นต่อไปก็คือปรากฏการณ์หรือวัฎจักรซึ่งเกิดจากสัญญาณการ Cut Loss ตัดขาดทุนหุ้นเน่าๆในพอร์ทออกไป และการสะสมหุ้นกลับเข้ามาในพอร์ทจากสัญญาณของแนวโน้มใหญ่ที่เกิดขึ้นกับหุ้นในตลาด

พฤษภาทมิฬ

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (2)

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (3)

ภาพที่ 2 และภาพที่ 3 : เหตุการณ์ช่วงพฤษภาทมิฬ 17 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535  (ค.ศ. 1992)

การถล่มของตึก World Trade Centre และสงครามอัฟกานิสถาน

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (4)

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (5)

ภาพที่ 4 และภาพที่ 5 : เหตุการณ์ช่วงสงครามอัฟกานิสถาน ตึก World Trade ถล่มลงมาจากการก่อการร้ายในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

สงครามอิรักโค่นซัดดัมฮุดเซน

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (6)

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (7)

 

ภาพที่ 6 และภาพที่ 7 : เหตุการณ์ช่วงสงครามอิรัก อเมริกาบุกอิรัก 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)

ความขัดแย้งทางการเมืองไทยปีพ.ศ. 2548 – 2555

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (8)

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (9)

ภาพที่ 8 และภาพที่ 9 : เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549, สลายการชุมนุมเสื้อแดง 14 เมษายน พ.ศ. 2552, สลายการชุมนุมเสื้อแดง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และสลายการชุมนุมเสื้อหลากสี 24 พฤษจิกายน พ.ศ. 2555

เราจะสังเกตุเห็นกันได้อย่างชัดเจนเลยว่าจากตัวอย่างของระบบ Trend Following ง่ายๆของเรานั้น แทบทุกช่วงที่จะเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นนั้น ระบบจะลด Position ที่ถือหุ้นอยู่ลงก่อนโดยอัตโนมัติมาเป็นเวลาสักพักหนึ่งแล้ว (ยกเว้นเหตุการณ์คาดไม่ถึงอย่าง 9/11) และจะค่อยๆทยอยสะสมหุ้นจนเต็มพอร์ทอีกครั้งในช่วงที่ตลาดกลับมาเป็นขาขึ้น! (เส้นแดงจะมีมูลค่าล้อไปกับเส้นน้ำเงิน) นี่จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมผมจึงบอกว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องใหญ่ และไม่ควรเป็นเรื่องใหญ่ของนักเล่นหุ้นที่มีการซื้อขายอย่างเป็นระบบแบบแผนเลย

มาถึงตรงนี้ก็หวังว่าภาพวัฎจักรระหว่างมูลค่าพอร์ทแบบ Total Equity, มูลค่ารวมของทุก Positions หรือต้นทุนหุ้นที่เราถือครองอยู่ รวมถึงเงินสดคงเหลือ จะทำให้คุณเข้าใจถึงคำตอบที่ว่า “ขอบคุณครับ ไม่ต้องเป็นห่วง” ของผมเป็นอย่างดีกันแล้วนะครับ ^_^

สิ่งที่สำคัญกว่าเหตุการณ์ทางการเมืองคือความเข้าใจในกลยุทธ์และจิตใจของคุณ

ผมมักพูดอยู่เสมอถึงหลักการเบื้องต้นของกลยุทธ์การเล่นหุ้นตามแนวโน้ม Trend Following ว่าเราไม่จำเป็นต้องพยายามที่จะไปคาดเดาอนาคตของตลาดเลย ในทางกลับกันแล้วการพยายามทำความเข้าใจถึงระบบการลงทุนรวมถึงจิตใจของเราให้ดีต่างหากกลับจะช่วยให้ผลตอบแทนในการลงทุนของเราดีขึ้นกว่ามาก

เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆที่จะเกิดขึ้นอาจไม่น่ากลัวเท่ากับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นอย่างสับสนในจิตใจของเราก็เป็นได้ ดังนั้นแล้วคำถามสำคัญมันจึงกลับมาอยู่ที่ว่า คุณนั้นจะเข้าใจและสามารถทำในสิ่งที่ควรทำได้มากสักแค่ไหนต่างหาก และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมจึงบอกไว้ในข้างต้นว่าเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้น “คุณเองก็แค่ควรทำในสิ่งที่คุณจะต้องทำก็เท่านั้น” ซึ่งนั่นก็คือวินัยที่จะทำตามระบบซึ่งได้ถูกทดสอบออกมาแล้วว่ามีความยั่งยืนในระยะยาวนั่นเอง

ยังไงก่อนจบบทความนี้ผมขอแถมท้ายภาพวัฎจักรในพอร์ทจากตัวอย่างของระบบ Trend Following ที่อยู่ในบทความนี้ให้ดูเล่นๆกันอีกสักนิดหน่อยว่าสัดส่วนของ Total Equity และ Position นั้นเป็นอย่างไรบ้างในขณะนี้ ลองเอาไปคิดกันเล่นๆกัยดูนะครับ แล้วเจอกันในบทความหน้าครับ

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (10)

การเมืองกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ Trend Following System (11)

ภาพที่ 10 และ 11 : เหตุการณ์ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)