บทเรียนและภูมิปัญญาจากเกษตรกรชาวเปรูสู่ตลาดหุ้น
ในบทความนี้ ผมได้นำเรื่องที่น่าสนใจอย่างหนึ่งจากคำนิยมของ Jare Diamon ที่ได้เขียนไว้ในหนังสือหุ้น The Invisible Hands : Top Hedge Fund Traders on Bubbles, Crashes and Real Money มาให้ได้อ่านกันครับ (สำหรับคนที่สงสัยว่าหนังสือหุ้นเล่มนี้มีเนื้อหาอย่างไรนั้น หนังสือหุ้นเล่มนี้เพ่งความสนใจไปยังความผิดพลาดและบทเรียนของเหล่าผู้จัดการกองทุน ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 โดยได้ลงบทสัมภาษณ์ของเหล่าผู้จัดการกองทุนที่เอาตัวรอดมาได้จากวิกฤติครั้งนั้น)
การกระจายความเสี่ยง เพื่อเพิ่มโอกาศและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
ในส่วนคำนิยมของหนังสือเล่มนี้นั้น Jare Diamond ได้เปรียบเทียบถึงความเหมือนที่แตกต่างระหว่างผู้จัดการกองทุนกับเกษตรกรชาวเปรูในยุคเมดิวัล (ยุคกลาง) ในเชิงของการควบคุมความเสี่ยงออกมา เขาได้เล่าถึงวิธีการในการเพาะปลูกข้าวของบรรดาเกษตรกรชาวเปรู ที่ดูจะแปลกและเป็นปริศนาในเบื้องต้นที่เห็นนั่นก็คือ แทนที่พวกเขาจะทำการเพาะปลูกพืชผักลงในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั้งหมดของพวกเขา แต่พวกเขากลับที่จะทำการเพาะปลูกเป็นแปลงเล็กๆหย่อมๆ รอบๆพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขาเอง (ผมไม่แน่ใจจริงๆว่าชาวนาไทย หรือภูมิปัญญาพื้นบ้านของเราก็มีทำแบบนี้กันหรือปล่าว ต้องขออภัยด้วยนะครับ :D)
แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราจะคิดออกนั้น วิธีการเช่นนี้ย่อมต้องทำให้เกิดความยากลำบาก ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตของของพวกเขาขึ้นมาอย่างแน่นอน นอกจากนี้ มันยังจะทำให้ผลผลิตโดยรวมต่อปีของพวกเขาลดลงไปอีกด้วย (เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการปลูกข้าวในที่ดินผืนใหญ่ผืนเดียว) อย่างไรก็ตาม “กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง” ของพวกเขานั้น ได้ช่วยให้เกิดความปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการที่พวกเขาจะต้องเผชิญกับความอดอยาก หากว่าหนึ่งในแปลงพืชผักที่พวกเขาเพาะปลูกเอาไว้เกิดล้มเหลวหรือเน่าเสียขึ้นมา (ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหนู, แมลง, ขโมย, โรคติดต่อหรือสภาพอากาศก็ได้) และเนื่องจากการที่พืชที่พวกเขาปลูก (หลักๆคือมันฝรั่ง) ไม่สามารถที่จะเก็บเอาไว้ได้เกินหนึ่งปี ดังนั้น การที่พวกเขาจะเพาะปลูกพวกมันลงไปในพื้นที่ใหญ่ๆแห่งเดียวนั้น ก็ดูแทบจะไม่ต่างกับการ “เดิมพันหมดจนหน้าตัก” ในการลงทุนเลยทีเดียว ซึ่งนั่นหมายความว่าหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาล่ะก็ มันจะทำให้เกมจบลงในทันที
สำหรับนักมานุษยวิทยาแล้ว สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือความเชี่ยวชาญของเกษตรกรชาวเปรู ในการใช้ “กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง” ของพวกเขานั่นเอง โดยจากผลการวิจัยของนักมานุษยวิทยานั้น พวกเขาได้พบว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนแปลงที่ดินในการเพาะปลูกพืชนั้น มีผลกระทบในเชิงลบต่อผลผลิตโดยเฉลี่ยในการเก็บเกี่ยวในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม มันก็ให้ผลกระทบในเชิงบวกต่อความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันฝรั่งของพวกเขาด้วยเช่นกัน (พูดอีกอย่างก็คือ การกระจายความเสี่ยงของพวกเขาทำให้ผลตอบแทนลดลง แต่ทำให้เกิดความผันผวนของผลผลิตโดยเฉลี่ยที่เก็บเกี่ยวได้ดีขึ้นมากๆ) นอกจากนี้แล้ว หลังจากที่นักมานุษยวิทยาได้ทำการคำนวณและวิจัยต่อไปอีก พวกเขาพบว่าเกษตรชาวเปรูส่วนใหญ่ มักที่จะทำการเพาะปลูกพืชผักของพวกเขาเป็นแปลงเล็กๆประมาณ 2-3 แปลงในที่ดินที่เหมาะสม เพื่อที่จะทำให้ความเสี่ยงที่พวกเขาจะต้องเผชิญกับความอดอยากลดลงเหลือแค่ศูยน์อีกด้วย
เราจะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วเกษตรกรชาวเปรูเหล่านี้ ไม่ได้มีเป้าหมายในการที่จะสร้างผลผลิตโดยเฉลี่ยในระยะยาวให้สูงที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขากลับพยายามที่จะสร้างผลผลิตโดยเฉลี่ยในระยะยาวให้สูงที่สุด โดยไม่ลืมที่จะลดความเสี่ยงในการที่พวกเขาจะเกิดการอดอยากลงให้เหลือศูยน์ควบคู่กันไป อีกทั้งพวกเขายังคำนวณความเสี่ยงเผื่อเอาไว้ และให้พื้นที่ในการที่อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นมาด้วย (Margin of Safety)
และนี่คือสิ่งที่ทำให้เราได้ตระหนักว่า จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชาวเปรูที่เราได้เห็นกันไปนั้น ในทางเดียวกันแล้วมันช่างคล้ายกับศาสตร์และศิลปของการเล่นหุ้น/ลงทุนเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะสิ่งแรกที่สุดที่พวกเราควรจะต้องระลึกอยู่เสมอก็คือ มันเป็นเกมของความอยู่รอดเหนือสิ่งใด เช่นเดียวกับที่สุดยอดนักเก็งกำไรของโลก Gorge Soros เคยได้กล่าวเอาไว้ว่า “อยู่ให้รอดก่อน แล้วค่อยทำกำไรทีหลัง” (Survive First, Profits Later) นั่นเองครับ
ขอปิดท้ายด้วยแนวคิดเกษตรพอเพียง (เกษตรเชิงผสมผสาน) ที่ผมคิดว่าก็ละม้ายคล้ายกันอยู่ในเป้าหมายของการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสี่ยงพร้อมๆกันไปครับ (เพียงแต่อาจไม่ได้ปลูกเป็นหย่อมเล็กๆ เหมือนของเปรูเท่านั้นเอง) ขอชื่นชมในอัจฉริภาพของพระองค์ท่านจริงๆ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยกล้าวด้วยกระหม่อมขอเดชะ
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=78zEyrp-bWk[/youtube]