fbpx
วิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

January Effect : ปรากฏการของเดือนมกราคมในตลาดหุ้น

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

january-calendarใกล้จะปีใหม่เข้ามาทุกทีเมื่อพูดถึง January Effect แล้ว เชื่อว่าทุกคนก็มักที่จะนึกถึงภาพของตลาดหุ้นที่เขียวสดใสขึ้นมาในทันใด เพราะนี่ถือเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาของนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่ปรากฏการณที่จะเกิดขึ้นในทุกๆปีตลอดเวลา ดังนั้น คำถามที่น่าสนใจก็คือมันมีอยู่จริงหรือไม่? และมันมีความน่าเชื่อถือเพียงใด? วันนี้ผมจึงได้ลองเก็บสถิติของมันมาให้ดูกันครับ

January Effect คืออะไร?

พูดง่ายๆแล้ว January Effect ก็คือความเชื่อที่ว่าตลาดหุ้นมักที่จะวิ่งขึ้นในช่วงเดือนมกราคม โดยเป็นผลกระทบจากการกว้านซื้อหุ้นของเหล่ากองทุนในช่วงต้นปี เนื่องจากในช่วงท้ายปีนั้นหลายๆกองทุนจะต้องทำการตบแต่งบัญชีให้เข้าที่ ซึ่งทำให้อาจมีการขายหุ้นออกมาในเดือนธันวาคมและกลับมาซื้อคืนในเดือนมกราคมต้นปีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ช่วงระยะเวลาการดำเนินไปของ January Effect นั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างคลุมเครือและให้ความหมายไม่ตรงกันสักเท่าไหร่นัก บางคนบอกแค่อาทิตย์เดียว บางคนบอกว่าเป็นเดือน บางคนบอกว่าเป็นไตรมาสเลยก็มี ดังนั้นในส่วนของสถิติตรงนี้ผมจะขอนับเพียง 1 เดือนเท่านั้นครับ

ซื้อหุ้นต้นเดือนมกราคมแล้วขายทิ้งปลายเดือนก็กำไรแล้ว … ง่ายๆแค่นี้หรือ?

จริงๆแล้วเรื่องนี้คงจะสรุปได้ยากมาก เนื่องจากแต่ละคนก็คงจะไม่ได้ซื้อหุ้นตัวเดียวกันทั้งหมด (รวมถึงจำนวนของหุ้นและการกระจายความเสี่ยงด้วย) ดังนั้นในส่วนนี้ผมจะขอนำสถิผลตอบแทนในแต่ละเดือนของ SET Index มาให้ดูกันเพื่อความเป็นสากลเสีย สิ่งที่พิเศษก็คือผมได้จัดทำผลตอบแทนในแต่ละเดือนออกมาให้ดูกันด้วย ส่วนผลสรุปจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวไว้มาคุยกันต่อตอนท้าย ตอนนี้ลองไปดูที่ตารางกันก่อนเลยครับ

ตารางผลตอบแทนรายเดือนของดัชนี SET Index ตั้งแต่วันที่ 1/1/2518 – 1/1/2554 (รวม 36 ปี)

SET Index Monthly Return Since 2524

ความถี่ที่ SET Index ให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในแต่ละเดือน (30 เมษายน 2518 – 1 มกราคม 2554)

image

ความน่าจะเป็นของ January Effect

จากข้อมูลที่เราได้เห็นในตารางนั้นพบว่า SET Index ให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในเดือนมกราคมทั้งสิ้น 20 ครั้งจากทั้งหมด 35 ปี (54.14%) นี่แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ทฤษฏีนี้จะมีตรรกะหรือเหตุผลมารับรองสักเท่าไหร่ก็ตาม แต่ความน่าเชื่อถือของ January Effect นั้นแทบจะไม่ต่างจากการสุ่มโยนเหรียญเลย! พูดง่ายๆก็คือว่าคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นนั้นโดนหลอกจากตลาดอีกครั้งหนึ่ง พวกเราล้วนคิดไปเองจาก Bias ที่เรามักจะจำสิ่งที่เราอยากจำได้ก็เท่านั้น

นอกจากนี้แล้วเรายังจะเห็นว่า หากเราต้องการจะลุ้นว่าเดือนไหนหุ้นส่วนใหญ่จะวิ่งขึ้นไปจริงๆแล้วล่ะก็ เดือนที่น่าสนใจที่สุดจะไปอยู่ที่เดือนมิถุนายนแทนต่างหาก นั่นก็เพราะมันให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกถึง 25 ครั้ง (69.44%) นั่นแปลว่าเราอาจจะต้องพูดกันใหม่กับตลาดหุ้นไทยว่า June Effect แทนก็ได้

January Effect กับตลาดในปัจจุบัน

เหตุผลหนึ่งที่ผมได้เก็บสถิติย้อนหลังไปถึง 36 ปีนั้นไม่ได้เป็นเพราะว่าผมอยากจะเหนื่อยขึ้นกว่าเดิมสักเท่าไหร่ แต่นั่นเป็นเพราะอย่างน้อยที่สุดแล้ว หากเราต้องการความน่าเชื่อถือทางสถิติที่เกิดขึ้น Sample Size ของมันก็ควรที่จะมากกว่า 30 ครั้งอย่างที่ผมเคยได้เขียนไว้แล้วในบทความที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผมคิดว่าหลายๆคนก็อาจสงสัยว่าแล้วในปัจจุบันผลของมันมีความโน้มเอียงไปทางไหนอย่างไรบ้าง ตารางข้างล่างจึงเป็นการ Focus ลงไปในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

ตารางผลตอบแทนรายเดือนของดัชนี SET Index ตั้งแต่วันที่ 1/1/2544 – 1/1/2554 (รวม 10 ปี)

SET Index Monthly Return Since 2544-2554

ความถี่ที่ SET Index ให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในแต่ละเดือน (1 มกราคม 2544 – 1 มกราคม 2554)

image

January UNeffect

หากลองสังเกตดูเราจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ความถี่ของการเกิด January Effect นั้นลดน้อยลงเหลือเพียง 5 ใน 10 ครั้ง (50%) เท่านั้น โดยเฉพาะในช่วง 4 ปีหลังของการทดสอบ (หากนับปีนี้ 2011 จะรวมเป็น 5 ครั้ง) SET Index กลับให้ผลตอบแทนเป็นลบในเดือนมกราคมติดต่อกันมาตลอด นี่อาจเป็นเป็นไปได้ว่าจากการที่เมื่อทุกคนรับรู้ต่อปรากฏการณ์นี้แล้ว จึงได้พยายามเริ่มต้นเข้ากว้านซื้อหุ้นในช่วงเดือนธันวาคมแทนนั่นเอง (เราจะเห็นได้ว่าในเดือนธันวาคมนั้น SET Index ให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 8 ใน 10 ครั้งเลยทีเดียว) แต่ไม่ว่ามันจะเป็นไปด้วยเหตุผลอันใดแล้ว เราก็อาจพอที่จะสรุปได้ว่าปรากฏการณ์ January Effect ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นอาจสิ้นมนต์ขลังของมันลงไปแล้วก็เป็นได้

ธันวาคม … เดือนที่เหมาะแก่การซื้อหุ้น?

ก่อนจะจบบทความนี้ ถึงแม้ว่าผมจะไม่อาจที่จะรับประกันต่อกำไรขาดทุนของทุกๆคนได้ก็ตาม แต่ผมก็คิดว่าน่าสนุกดีถ้าเราจะลองหาประสิทธิภาพจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนกันดูบ้าง โดยจากสถิติที่ผ่านมานั้นเราจะสังเกตกันได้ว่าเดือนที่มีน้ำหนักหรือมีความ Robust ในลำดับต้นๆก็คือเดือนเดือนธันวาคม และจากสมมุติฐานของคนทั่วๆไปที่เชื่อว่าพลังของเดือนที่สำคัญนั้นมีผลทำให้หุ้นส่วนใหญ่วิ่งขึ้น ผมจึงได้ลองทดสอบโดยทำการสุ่มเข้าซื้อหุ้นในกลุ่ม SET 100 เฉพาะในช่วงต้นเดือนธันวาคมและขายออกในช่วงปลายเดือน ตั้งแต่วันที่ 1/1/2544 – 1/1/2554 (พูดง่ายๆคือ 10 ปีหรือซื้อขายทั้งหมด 10 ครั้ง) โดยกำหนดขนาดการลงทุนที่ไม้ละ 5% ของพอร์ทมูลค่าเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาทดูว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไร และนี่คือผลของมัน … แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าครับ

SET 100 December Effect Random Entry

*** ผมของการสุ่มเลือกตัวหุ้นจะไม่คงที่ แต่จากการสุ่มหลายๆครั้งแล้วพบว่ามันให้ผลตอบแทนทบต้นอยู่ที่ราวๆ 3%+- หากเราเลือกที่จะซื้อหุ้นเฉพาะแต่ในเดือนธันวาคมของแต่ละปี ***

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)