fbpx
วิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

สภาพตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวยต่อการทำกำไร (ตอนจบ)

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

บทความนี้เรามาต่อกันเรื่องของสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นกำลังเอื้ออำนวยต่อการทำกำไรให้จบกันดีกว่าครับ

ท้าวความเดิมตอนที่แล้ว

จาก บทความในตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึงการวิเคราะห์ตลาดจากแนวโน้มระยะสั้นของ SET index ด้วย Peak and Trough ที่ 1% เอาไว้ และผลตอบแทนจากระบบแมงเม่า SET Buy ก็สามารถที่จะเอาชนะผลตอบแทนของตลาดไปได้อยู่หลายช่วงตัว ในตอนนี้เรามาพูดกันอีก 2 สัญญาณที่เหลือกันอย่างรวดเร็วกันเลยดีกว่าครับ โดยสัญญาณต่อไปนี้คือสัญญาณแบบ Trend Following ที่ในระยะยาวแล้วให้สัญญาณได้แม่นยำมากกว่าการโยนเหรียญที่ 50% อีกด้วยครับ

Benchmark เพื่อวัดผลในการวิเคราะห์

ผลตอบแทนของ SET index ตั้งแต่วันที่ 4/1/2000 – 22/6/2012 โดยสมมุติง่ายๆว่าหากเรามีเงินทุนตั้งต้น 1 ล้านบาทแล้วซื้อหุ้นตัวหนึ่ง (ซึ่งในที่นี้คือ SET index) ผลตอบแทนและความเสี่ยงจะออกมาดังนี้

imageCAGR หรือผลตอบแทนทบต้นของ SET index –  7.09% ต่อปี

Net Profit หรือผลตอบแทนสุทธิของ SET index – 135.1%

Max DD. หรือการลดลงสูงสุดของมูลค่าเงินทุนในระหว่างการลงทุน – 58.01%

MAR Ratio หรือผลตอบแทนทบต้น CAGR ต่อ MaxDD – 0.12

Ending Capital หรือเงินทุนสิ้นสุดการลงทุน – 2,351,021 บาท

ข้อสังเกตประการที่ 2 : ดัชนีจำนวนหุ้นที่เกิดการ Breakout และ Breakdown สุทธิในแต่ละวัน (52 Weeks BOBD Composite)

SET 260 BOBD Composite

สำหรับเทคนิคการสังเกตตลาดในรูปแบบนี้ เราจะนำเอาจำนวนหุ้นที่เกิดการ Breakout ณ จุดสูงสุดในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมาและหุ้นที่เกิดการ Breakdown ณ จุดต่ำสุดของมันในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นำมาคิดหักลบกันเพื่อหาค่าสุทธิของมันออกมา

กราฟ SET index ที่เป็นสีเขียวแสดงให้เห็นถึงภาวะที่ตลาดเอื้ออำนวยและสีส้มแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่ตลาดไม่สู้ดีนัก โดย Indicator ด้านล่างเป็นค่าดัชนี 52 weeks BOBD ในแต่ละวันที่ผมเขียนขึ้นมาให้สังเกตความสอดคล้องของมันกับสภาวะตลาดกัน เส้นสีน้ำเงินคือค่าสุทธิในแต่ละวัน เส้นแนวนอนสีดำคือเส้นค่า 0, เส้นเขียวคือค่า +5 และสีแดงคือค่า –5 นั่นเองครับ

ตัวอย่างของหุ้นที่เกิดการเบรคเอาท์ใน 1 ปี (52 Weeks Breakout และ Breakdown)

SMM 2012 260 BOandBD

กรณีของการเกิด 52 weeks Breakout ลูกศรสีน้ำเงินคือสัญญาณ Breakout ที่เกิดขึ้น

CAWOW 2012 260 BOandBD

กรณีของการเกิด 52 weeks Breakdown ลูกศรสีแดงคือสัญญาณ Breakdown ที่เกิดขึ้น

หลักการวิเคราะห์ตลาดหุ้นด้วยดัชนี BOBD

แก่นง่ายๆของแนวคิดการวิเคราะห์ตลาดหุ้นด้วยดัชนี BOBD ก็คือสมมุติฐานที่ว่า เมื่อตลาดหุ้นมีภาวะที่ดีและเอื้ออำนวยต่อการทำกำไรนั้น หุ้นในตลาดส่วนใหญ่ที่มีพื้นฐานกิจการที่ดีจะถูกกวาดซื้อด้วยความมั่นใจของนักลงทุนในตลาด ส่งผลให้พวกมันสามารถที่จะวิ่งผ่านแนวต้านใหญ่ของพวกมันขึ้นไปได้ (ในกรณีนี้คือ 1 ปีหรือ 52 สัปดาห์) และในทางกลับกันแล้วเมื่อจิตวิทยาของตลาดไม่เอื้ออำนวยนั้น หุ้นหลายๆตัวที่พื้นฐานไม่ค่อยดีนักจะพากันถูกเทขายโดยนักลงทุนจนทำให้ราคาของมันหลุดแนวรับใหญ่ของพวกมันไปนั่นเอง

สภาวะที่เอื้ออำนวย = ดัชนี BOBD มีค่ามากกว่า 0 หรือมีหุ้น Breakout สุทธิในแต่ละวันมากกว่า 0 ตัว

สภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย = ดัชนี BOBD มีค่าต่ำกว่า 0 หรือมีหุ้น Breakdown สุทธิในแต่ละวันมากกว่า 0 ตัว

ในคราวนี้เราลองจับสัญญาณที่เกิดขึ้นมาทำระบบกันบ้างดีกว่า

ระบบแมงเม่า BOBD

Position Size = 5% ของเงินทุน

Buy = กวาดซื้อหุ้นเมื่อดัชนี BOBD มีค่าเหนือ +5 (เส้นเขียว) ในราคา Open ของเช้าวันถัดไป

Sell = ขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดเมื่อดัชนี BOBD มีค่าต่ำกว่า –5 ในราคา Open ของเช้าวันถัดไป

Ranking = เนื่องจากเงินทุนของเราไม่สามารถที่จะกว้านซื้อหุ้นทั้งตลาดได้ในคราวเดียว ผมได้ให้ระบบเลือกหุ้นที่อยู่ใกล้จุดสูงสุดภายใน 1 ปีของมันตามลำดับไล่ลงไปเรื่อยๆจนกว่าเงินจะหมดครับ

Commission = 0.25% ต่อครั้งรวม 0.5% ต่อรอบ

*** ระบบนี้ไม่มีการปรับแต่งอย่างอื่นเพิ่มเติมใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากต้องการที่จุดได้ผลที่บริสุทธิที่สุดของมันออกมานะครับ

ผลตอบแทนของระบบจากสัญญาณดัชนี BOBD

image

  • CAGR – ระบบ 25.11% vs. SET index 7.09%
  • Net Profit  – ระบบ 1534.96% vs. SET index 135.1%
  • Max DD. – ระบบ 28.24% vs. SET index 58.01%
  • MAR Ratio – ระบบ 0.89 vs. SET index 0.12
  • Ending Capital – ระบบ 16,349,597 vs. SET index 2,351,021

บทสรุปผลของระบบจากสัญญาณของดัชนี BOBD

ระบบเมื่อมอง CAGR แล้วจะค่อนข้างสูงแต่ Max DD. ก็ค่อนข่างสูงด้วยเช่นกัน จึงส่งผลให้ค่า MAR Ratio ลดต่ำลงมากว่า 1 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือช่วงของ Flat Period หรือช่วงที่ระบบหยุดทำงาน จะเห็นได้ว่ามันช่วยดีดให้ตัวเราหลุดออกมาจากขาลงหรือ Sideway ได้ดีพอสมควรเลยทีเดียวครับ

เอาล่ะครับ เหนื่อยกันหรือยัง เพราะยังเหลืออีก 1 ข้อสังเกต ถ้าเหนื่อยก็พักกันนิดนึงก่อนนะครับ อิอิ

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

เอาล่ะครับ เรามาต่อกันกับสัญญาณต่อไปให้จบเรื่องนี้กันดีกว่า Open-mouthed smile

ข้อสังเกตประการที่ 3 : กระแสเงินทุนของต่างชาติดัชนี Fundflow ง่ายๆสไตล์แมงเม่าคลับ

SET Fundflow

ผมเห็นเซียนหุ้นหลายต่อหลายคนมักให้ข้อแนะนำว่าให้สังเกตกระแสเงินทุนของต่างชาติที่ไหลเข้าไหลออกจากตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม คำแนะนำเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ Make Sense และเราก็มักจะเห็นความสอดคล้องของมันกันโดยทั่วไป แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีใครที่จับเรื่องนี้มาทำให้เป็นรูปธรรมเป็นตัวเลขที่จับต้องได้นัก ซึ่งความจริงแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องยากหรือซับซ้อนจนเกินไปครับ

เส้น Indicator สีน้ำเงินที่เห็นอยู่ด้านล่างกราฟของดัชนี SET index นั้นคือ Indicator ที่ผมสร้างขึ้นมาด้วยยอดซื้อ (Forbuy) และยอดขาย (Forsell) โดยนำเอาผลรวมสุทธิของพวกมันในแต่ละวันมาคิดบวกกันย้อนหลังไป 10 วัน โดยเมื่อค่าดัชนี Fundflow มีค่ามากกว่า 0 นั้นจะแสดงให้เห็นว่าภายใน 10 วันที่ผ่านมาเงินทุนของฝรั่งนั้นไหลเข้าตลาดมากกว่าออก และเมื่อต่ำกว่าค่า 0 นั้นแสดงว่าฝรั่งกำลังเริ่มทยอยขายดึงเงินออกจากตลาดหุ้นนั่นเองครับ

หลักการวิเคราะห์ตลาดหุ้นด้วยดัชนีแมงเม่า Fundflow

แนวคิดสำคัญของหลักการวิเคราะห์ในรูปแบบนี้คือการอยู่ข้างเดียวกับคนส่วนน้อยหรือ Minority ในตลาดหุ้น โดยที่คนส่วนน้อยที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทยตลอดมาในความคิดของผมก็คงจะหนีไม่พ้นพวกกองทุนต่างชาตินั่นเองครับ เพราะพวกเขามักที่จะทำการซื้อขายในลักษณะที่ต่อเนื่องในทางใดทางหนึ่งเป็นช่วงๆมากกว่าที่จะซื้อขายสะเปะสะปะไปเรื่อยเหมือนนักลงทุนจำพวกอื่นๆในตลาด และนั่นทำให้เม็ดเงินของพวกเขามีผลกับทิศทางของตลาดอยู่พอสมควรเลยทีเดียวครับ

ฝรั่งอัดเงินเข้า = ยอดซื้อขายสุทธิภายใน 10 วันของต่างชาติเป็น +

ฝรั่งดึงเงินออก = ยอดซื้อขายสุทธิภายใน 10 วันของต่างชาติเป็น –

เอาล่ะครับ ลองจับสัญญาณมาทำระบบกันดูบ้างดีกว่า

ระบบแมงเม่า Fundflow

Position Size = 5% ของเงินทุน

Buy = กวาดซื้อหุ้นเมื่อดัชนี Fundflow มีค่าเหนือ 0 ในราคา Open ของเช้าวันถัดไป

Sell = ขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดเมื่อดัชนี Fundflow มีค่าต่ำกว่า 0 ในราคา Open ของเช้าวันถัดไป

Ranking = เนื่องจากเงินทุนของเราไม่สามารถที่จะกว้านซื้อหุ้นทั้งตลาดได้ในคราวเดียว ผมได้ให้ระบบเลือกหุ้นที่อยู่ใกล้จุดสูงสุดภายใน 1 ปีของมันตามลำดับไล่ลงไปเรื่อยๆจนกว่าเงินจะหมดครับ

Commission = 0.25% ต่อครั้งรวม 0.5% ต่อรอบ

*** ระบบนี้ไม่มีการปรับแต่งอย่างอื่นเพิ่มเติมใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากต้องการที่จุดได้ผลที่บริสุทธิที่สุดของมันออกมานะครับ

ผลตอบแทนของระบบจากสัญญาณดัชนี Fundflow

image

  • CAGR – ระบบ 22.24% vs. SET index 7.09%
  • Net Profit – ระบบ 1123.76% vs. SET index 135.1%
  • Max DD. – ระบบ 23.63% vs. SET index 58.01%
  • MAR Ratio – ระบบ 0.94 vs. SET index 0.12
  • Ending Capital – ระบบ 12,237,572 vs. SET index 2,351,021

บทสรุปผลของระบบจากสัญญาณของดัชนีแมงเม่า Fundflow

ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากสัญญาณ Fundflow ของต่างชาติที่ผมคิดว่าหลายๆคนน่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากกราฟแสดงตัวอย่าง Indicator ก็คือ หากพวกฝรั่งต่างชาตินี่ไม่ใช่พวกตื่นตูมก็คงจะต้องบอกว่าพวกเขาสามารถที่จะทำการขายหุ้นได้อย่างรวดเร็วหลังจากจุด Peak ของรอบได้ดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามลักษณะการซื้อขายตามดัชนีที่เกิดขึ้นนี้ก็ค่อนข้างที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าสัญญาณอื่นๆอยู่พอสมควร นั่นอาจทำให้คนที่ไม่ชอบการซื้อขายบ่อยๆถูกใจเท่าไหร่นัก แต่ผลการทดสอบในเบื้องต้นของระบบที่ออกมาก็ยังคงแสดงให้เห็นว่าพวกมันสามารถที่จะทำกำไรเหนือกว่า Benchmark จาก SET index ได้อยู่เยอะพอสมควรเช่นเดิม

ข้อคิดที่ผมอยากฝากถึงเพื่อนๆที่อ่านแมงเม่าคลับ

ความจริงแล้วผมคิดว่าผลตอบแทนทั้งหลายที่ได้นำมาให้ดูกันนั้น คงจะไม่สำคัญเท่ากับแนวคิดที่ผมต้องการจะแสดงให้เห็นว่าบางทีแล้วในการจะทำกำไรจากตลาดหุ้นด้วยแนวคิดของ Technical Analysis อาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการอ่านกราฟหุ้นแบบเป็นตัวๆไปก็เป็นได้ จากตัวอย่างของแนวคิดที่ผ่านๆมานั้นมีลักษณะเป็นการจับนำข้อมูลอื่นๆที่หลายคนไม่ได้ความสนใจและรายย่อยธรรมดาๆยากที่จะเข้าถึงมาจับต้นชนปลายให้กลายเป็นสัญญาณที่จับต้องเป็นรูปธรรมทางตัวเลขที่ออกมา มันก็แสดงให้เห็นว่าเรามีโอกาสที่จะทำกำไรจากตลาดได้เช่นเดียวกัน (และอาจจะเป็นแนวคิดที่ Robust กว่าเนื่องจากหลายคนเข้าไม่ถึง) ผมเชื่อว่ายังคงมีอีกหลายหนทางที่เราสามารถจะนำมาทำเป็น Indicator ในการวิเคราะห์ตลาดได้เป็นอย่างดีและไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเพียงแค่แนวคิดเดิมๆที่เราคุ้นชินกันอยู่ตลอดเวลาก็ได้ครับ

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)