fbpx
วิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

ซื้อหุ้นต่ำๆไปขายสูง ใช้ได้จริงหรือไม่ : Buy Strength or Buy Weakness?

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

ซื้อหุ้นต่ำๆไปขายสูง ใช้ได้จริงหรือไม่ Buy Strength or Buy Weakness?

ความเชื่อมาแต่ดั้งเดิมของเหล่านักเล่นหุ้นนั้นคือ “ซื้อต่ำ ขายสูง” หรือ “over sold ให้ซื้อ over Bought ให้ขาย” นั้นเป็นจริงหรือ? วันนี้ผมลองนำมาทดสอบ และเปรียบเทียบให้ดูอย่างละเอียดพอสมควร จากการทำ System Test ด้วย Metastock ครับ

Buy low Sell High บทความนี้เป็นผลการทดสอบจากการทำ System test โดยโปรแกรม Meta Stock ครับ โดยหุ้นที่ผมจะนำมาใช้ทดสอบนั่นก็คือ ดัชนีของบ้านเรา หรือ SET นั่นเองครับ

เราคงจะได้ยินจนชินชา จากคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้นทั่วๆไปให้ ซื้อต่ำๆ ไปขายสูงๆ กันมามากมาย นั่นทำให้แมงเม่าหลายๆตัวพยายามที่จะหา Holy Grail ซึ่งจะทำให้เขาซื้อได้ต่ำที่สุด และขายได้สูงที่สุด แต่นั่นเป็นสิ่งที่จะทำได้จริงหรือ? ในเมื่อราคาต่ำสุดมีราคาเดียว ราคาสูงก็มีราคาเดียวเช่นกัน นั่นถือเป็นความน่าจะเป็นที่ไม่น่าจะถึง 1% ด้วยซ้ำในการที่เราจะได้ราคาตรงนั้นมา

คำถามต่อไปก็คือ แล้วต่อให้เราได้ราคาที่ว่าต่ำๆนั้น ต่ำจริงหรือ?

แล้วเมื่อไหร่ที่เราคิดจะนำไปขายสูงๆนั้น มันสูงจริงๆหรือ!?

ซึ่งเถียงกันยังไงก็คงไม่จบ วันนี้ผมเลยลองจับเอาโปรแกรม Metastock มาเขียนสูตรง่ายๆเข้าไปแล้วลองทดสอบกับสมมุติฐานเหล่านี้ดูเล่นๆครับ

โดยผมจะเริ่มจากการเปรียบเทียบระหว่างสองสมมุติฐานนี้ จากการใช้ RSI Indicator เพียงตัวเดียวก่อนนะครับ เพื่อให้ตัวแปรของเรื่องนี้มันไม่เยอะเกินไป(หากมีเครื่องมืออื่นมาช่วย อาจทำให้ผลเปลี่ยนแปลงไปได้) และมันถูกใช้ในการหา Over Bought หรือ Over Sold ของนักเล่นหุ้นที่มักใช้กันทั่วๆไป โดยผมจะยึดจากหลักการที่ว่า

“Buy Strenght Sell Weakness” หรือ การเข้าซื้อเมื่อราคาเข้าสู่ระดับที่คนทั่วไปเรียกมันว่า Overbought (RSI=>70) นั่นเอง และขายเมื่อระดับ RSI นั้นเข้าสู่เขตของการเป็นขาลงครับ(RSI<=50)

 

เทียบกับ “Buy Weakness Sell Strength” นั่นคือการเข้าซื้อเมื่อหุ้นหลุดออกมาจากเขต Over Sold (RSI=>30) และขายเมื่อหุ้นเข้าสู่ช่วงที่คนส่วนใหญ่บอกว่าสูงเกินไปและมักรีบชิงขายทำกำไรหรือ Over Bought (RSI=>70)

โดยการทดสอบคือเมื่อเกิดสัญญาณแล้วเราจึงเข้าซื้อหรือขาย ในตอนเช้าของวันถัดไป โดยยังไม่ได้รวมค่าคอมมิสชั่นเอาใว้ และไม่มีการเข้าซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณขึ้นอีกในขณะที่มีหุ้นอยู่นะครับ ผมทำการตั้งแต่ 17/7/1989- 9/12/2009 หรือรวมเวลาคือประมาณ 20 ปีครับ เรามาดูผลที่เกิดขึ้นกัน โดยผมจะวัดเป็น Point ที่เกิดขึ้นเท่านั้น! (จะไม่มีส่วนของการใช้ “Position Sizing” มาช่วยในตอนนี้ ซึ่งอาจจะนำมาเขียนให้ดูในคราวต่อไปว่ามันมีผลทำให้กำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้นต่างกันอย่างมากมายทีเดียวครับ) และนี่ก็คือผลที่เกิดขึ้นครับ

ระบบแรก : ซื้อสูงไปขายสูงกว่า :)

Summary
RSI Buy Strength SET (SET)
Simulation Date 24/12/2552 2:16:35 5000 Daily Bars 17/7/1989 Through 9/12/2009 (7450 Days)
Points Only Test
Performance
Profit 1555.3095 Pts
Performance N/A
Annualized Performance N/A
Buy & Hold Profit 78.2800 Pts
Buy & Hold Performance N/A
Buy & Hold Annualized Performance N/A
Trade Summary
Total Trades 38
Trade Efficiency 15.17 %
Average Profit/Average Loss N/A
Profitable Trades
Total 28
Long 28
Short 0
Average Profit 67.0346 Pts
Highest Profit 378.9600 Pts
Lowest Profit 0.6700 Pts
Most Consecutive 9
Unprofitable Trades
Total 10
Long 10
Short 0
Average Loss -32.1660 Pts
Highest Loss -65.1600 Pts
Lowest Loss -4.2500 Pts
Most Consecutive 2
Maximum Position Excursions
Long Favorable 660.8900 Pts
Short Favorable 0.0000 Pts
Long Adverse -80.3199 Pts
Short Adverse 0.0000 Pts
Trade Efficiency
Average Entry 75.17 %
Average Exit 39.99 %
Average Total 15.17 %
Average Long Entry 75.17 %
Average Long Exit 39.99 %
Average Long Total 15.17 %
Average Short Entry 0.00 %
Average Short Exit 0.00 %
Average Short Total 0.00 %
Performance Indices
Buy & Hold Index 1886.85 %
Profit/Loss Index 82.86 %
Reward/Risk Index 100.00 %
Accounting
Initial Equity 0.0000 Pts
Trade Profit 1876.9695 Pts
Trade Loss -321.6600 Pts
Commissions 0.0000 Pts
Interest Credited 0.0000 Pts
Interest Charged 0.0000 Pts
Final Equity 1555.3095 Pts
Open Positions 0.0000 Pts
Account Variation
Highest Account Balance 1555.3095 Pts
Lowest Account Balance -714.4701 Pts
Highest Portfolio Value 1407.2799 Pts
Highest Open Drawdown 0.0000 Pts
Highest Closed Drawdown 0.0000 Pts
Account Events
Margin Calls 0
Overdrafts 0
Profitable Timing
Average Trade Length 39
Longest Trade Length 91
Shortest Trade Length 11
Total Trade Length 1108
Unprofitable Timing
Average Trade Length 15
Longest Trade Length 28
Shortest Trade Length 6
Total Trade Length 154
Out of Market Timing
Average 93
Longest 339
Total 3738

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คุณจะเห็นได้ว่า

1.เรามีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1555.3 Points

2.เทียบกับซื้อแล้วถือ หรือ Buy n Hold โดยไม่ทำอะไรเลยจะได้กำไร 78.2 Pts

3.กำไรโดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 67 Pts ในแต่ละครั้ง และขาดทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ -32 Pts ซึ่งนั่นจะทำให้ Reward to Risk Ratio โดยเฉลี่ยในแต่ละครั้งจะเท่ากับประมาณ 2.03 ครับ

4.เราจะซื้อขายไปทั้งหมด 38 ครั้ง โดยได้กำไรไป 28 ครั้ง เราจึงมี Winning Percentage ที่สูงถึง 73% เลยทีเดียวครับ ^_^

พักไว้ก่อนกับระบบนี้ เดี๋ยวมาเรามาดูระบบการ Buy Weakness Sell Strength กันดูบ้างครับ

Buy on dips Dip!

ระบบที่สองซื้อต่ำๆไปขายสูงๆ :)

Summary
RSI Buy Weakness SET (SET)
Simulation Date 24/12/2552 1:30:26 5000 Daily Bars 17/7/1989 Through 9/12/2009 (7450 Days)
Points Only Test
Performance
Profit -653.1100 Pts
Performance N/A
Annualized Performance N/A
Buy & Hold Profit 78.2800 Pts
Buy & Hold Performance N/A
Buy & Hold Annualized Performance N/A
Trade Summary
Total Trades 25
Trade Efficiency 15.89 %
Average Profit/Average Loss N/A
Profitable Trades
Total 16
Long 16
Short 0
Average Profit 60.9150 Pts
Highest Profit 161.0200 Pts
Lowest Profit 8.4300 Pts
Most Consecutive 5
Unprofitable Trades
Total 9
Long 9
Short 0
Average Loss -180.8611 Pts
Highest Loss -671.4501 Pts
Lowest Loss -9.7100 Pts
Most Consecutive 2
Maximum Position Excursions
Long Favorable 164.0100 Pts
Short Favorable 0.0000 Pts
Long Adverse -814.8100 Pts
Short Adverse 0.0000 Pts
Trade Efficiency
Average Entry 41.69 %
Average Exit 74.20 %
Average Total 15.89 %
Average Long Entry 41.69 %
Average Long Exit 74.20 %
Average Long Total 15.89 %
Average Short Entry 0.00 %
Average Short Exit 0.00 %
Average Short Total 0.00 %
Performance Indices
Buy & Hold Index -934.33 %
Profit/Loss Index -40.12 %
Reward/Risk Index -103.58 %
Accounting
Initial Equity 0.0000 Pts
Trade Profit 974.6401 Pts
Trade Loss -1627.7501 Pts
Commissions 0.0000 Pts
Interest Credited 0.0000 Pts
Interest Charged 0.0000 Pts
Final Equity -653.1100 Pts
Open Positions 0.0000 Pts
Account Variation
Highest Account Balance 217.0901 Pts
Lowest Account Balance -1415.5900 Pts
Highest Portfolio Value 1338.1100 Pts
Highest Open Drawdown -630.5600 Pts
Highest Closed Drawdown -653.1100 Pts
Account Events
Margin Calls 0
Overdrafts 0
Profitable Timing
Average Trade Length 80
Longest Trade Length 193
Shortest Trade Length 18
Total Trade Length 1286
Unprofitable Timing
Average Trade Length 162
Longest Trade Length 318
Shortest Trade Length 69
Total Trade Length 1463
Out of Market Timing
Average 83
Longest 197
Total 2251

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจจะทำให้เราตกใจอยู่บ้าง เพราะมันขัดกับความเชื่อของใครหลายๆคนอยู่พอสมควร

1.เราเกิดการขาดทุนสุทธิถึง -653 Pts !!!!

2.เทียบกับซื้อแล้วถือ หรือ Buy n Hold โดยไม่ทำอะไรเลยจะได้กำไร 78.2 Pts

3.กำไรโดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 60 Pts ในแต่ละครั้ง และขาดทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ -180 Pts ซึ่งนั่นจะทำให้ Reward to Risk Ratio โดยเฉลี่ยในแต่ละครั้งจะเท่ากับประมาณ -0.33 ครับ

4.จะซื้อขายไปทั้งหมด 25 ครั้ง โดยได้กำไรไป 16 ครั้ง เราจึงมี Winning Percentage ที่สูงถึง 64% เลยทีเดียว แต่….ทำไมเราจึงยังขาดทุนอยู่ล่ะครับ??

ข้อสังเกตุของผม ที่ได้จากผลการทดสอบนี้ชี้ให้เห็นถึงอะไรกันบ้าง?

1. การ Buy Strength นั้นมีข้อดีก็คือ มันทำให้เรามีหุ้นอยู่ในขณะที่แนวโน้มกำลังขึ้นไปอยู่ตลอดเวลา และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงมี Winning Percentage ที่สูงมากขนาดนี้

2. การ Sell Weakness ในขณะที่หุ้นเริ่มกลับเป็นขาลง พอร์ทเราจะว่างสนิท นั่นทำให้เราสามารถรักษาเงินทุนของเราไว้ได้เป็นอย่างดี และช่วยในการทำให้การขาดทุนของเราน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับในขณะที่ได้กำไร

3. สิ่งที่เกิดขึ้นจากการ Buy Weakness และ Sell Strength ที่ชัดเจนอย่างมากก็คือ ถึงแม้มันจะให้ความแม่นยำ หรือ Winning percentage ถึง 64% ก็ตาม แต่เราใช้โอกาสได้ไม่คุ้มเอาเสียเลย เพราเราตัดกำไรของเราเร็วเกินไปเป็นผลทำให้อัตราระหว่างกำไรต่อขาดทุนของเรา Pay off ของเราติดลบ และเมื่อหักลบกลบหนี้แล้ว เราจะขาดทุนอย่างมากถึงแม้ว่าจะมีความแม่นยำอย่างมากก็ตาม

analysis24. Holy Grail หรือ ความแม่นยำในการเล่นหุ้น ที่คนส่วนใหญ่ในตลาดพยายามหากันนั้น ไม่สามารถการันตีได้ว่า ในระยะยาวแล้วมันจะทำให้พวกเขามีกำไรขึ้นมา มันเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของระบบเท่านั้น

5. สิ่งที่มีผลต่อกำไรในการเล่นหุ้นในระยะยาวมากกว่าก็คือ การขาดทุนให้น้อย เพราะเมื่อเราได้ย้อนกลับไปวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างกัน เราจะพบว่า กำไรโดยเฉลี่ย หรือ Average Gain ของทั้งสองระบบนั้นอยู่พอๆกัน คือ 60 Pts แต่สิ่งที่เป็นความแตกต่างอย่างมากก็คือ การขาดทุนโดยเฉลี่ยหรือ Average loss ในแต่ละครั้งของระบบแรกนั้น น้อยกว่าถึงเท่าตัว 5.6 เท่าครับ (โดยนี่เป็นการซื้อขายเพียงครั้งเดียวไม่มีการซื้อเพิ่ม ซึ่งจะทำให้ผลของการ Buy Weakness แย่ขึ้นไปอีก เพราะมันเป็นการไปถัวเฉลี่ยในรอบที่เราขาดทุนนั่นเองครับ ซึ่งผลก็คือจากการขาดทุนที่ -653 Pts นั้น ด้วยการซื้อเฉลี่ยขาดทุน จะทำให้เรามีการขาดทุนสุทธิ -3107 Pts และขาดทุนโดยเฉลี่ยครั้งละ -192 Pts ครับ) (ผมจะใส่ภาพไว้ให้ในตารางข้างล่างสุดท้าย)

6. ค่า Expectancy หรือค่าความคาดหวัง ที่เราใช้ในการวิเคราะห์ว่าระบบการเล่นหุ้นระบบใดๆมีความได้เปรียบ หรือ EDGE หรือไม่นั้น ผลที่ออกมาก็คือ

จากสูตรค่านี้หาได้จากวิธีง่ายๆคือ

E = (Probability of win*Average Gain)-(Probability of loss*Average loss)

เราจะได้ค่าของระบบแรกซื้อแพงขายแพงกว่า หรือ Buy Strength Sell Weakness ออกมาที่ประมาณ E = 40 pts ซึ่งนั่นหมายความว่าโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละครั้ง เราจะมีกำไร 40 Pts ครับ

สำหรับระบบที่สองถูกขายแพง หรือ Buy Weakness Sell Strength นั้นเราจะได้ค่าออกมาที่ประมาณ E = -26 pts!! นั่นหมายความว่าโดยเฉลี่ยในแต่ละครั้งแล้ว เราจะขาดทุนจากการเล่น -26 Pts ครับ

โดยหากระบบของคุณมี Expectancy ที่ติดลบแล้ว คงต้องบอกไว้ว่า ไม่มี Money Management รูปแบบใดๆจะสามารถช่วยให้คุณได้กำไรได้ครับ เพราะตัวคูณของมันติดลบไปก่อนแล้ว ในระยะยาวเราก็จะเข้าเนื้ออยู่ดี อย่างที่นักพนันหลายๆคนในบ่อนต้องประสบครับ

จากผลการทดสอบที่ได้นำมาให้ดูกันนั้น ทำให้เราเห็นว่าการคิดจะซื้อหุ้นเพียงมองแต่ว่าหุ้นต่ำแล้ว Over Sold แล้ว เป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง แต่ไม่ใช่ว่าทุกๆระบบการซื้อต่ำๆนั้น จะใช้ไม่ได้ผลนะครับ ผมเพียงแต่นำเอาระบบการเล่นหุ้นจากความเชื่อของนักเล่นหุ้นไทยส่วนใหญ่ที่ว่าให้ซื้อ Over Sold ขาย Over Bought มาเตือนให้ดูครับ ว่าอันตรายเพียงใดถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ :) ใครจะคิดอย่างไรคงต้องแล้วแต่ความคิดของแต่ละคนแล้ว แต่อย่างน้อยในวันนี้ทุกคนคงจะได้เข้าใจแล้วว่าทำไมคำว่า “Cut loss short, Let Profit Run” จึงมีความสำคัญกันแล้ว จากการที่ผลการทดสอบระบบออกมา และนี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคุมต้นทุนของเราไว้ไม่ให้บานปลายครับ ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะถูกหรือผิด แต่ว่า โดยรวมแล้วเราได้มากกว่าเราเสียหรือไม่! แล้วเจอกันใหม่ที่แมงเม่าคลับ.คอม สวัสดีครับ

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)