fbpx
จิตวิทยาการลงทุน

why 30 ? : ทำไมต้อง 30’ จึงจะแจ๋ว!!

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

เซียนหุ้น Bandyเชื่อว่าหลายๆคนน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ให้พยายามรักษาวินัยในการเล่นหุ้นเอาไว้ และจงคิดถึงภาพในระยะยาวของผลการซื้อ-ขายหลายๆครั้ง มากกว่าที่จะใส่ใจในผลการซื้อ-ขายหุ้นแต่ละครั้งจนเกินไป ทำไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น??!! วันนี้ผมนำเอาสิ่งที่เซียนหุ้นในสไตล์ของ System Trader อย่างคุณ Haward B. Bandy ได้เคยกล่าวไว้มาให้อ่านเพื่อคลายความสงสัยกันครับ

ระบบการลงทุนและหลักทางสถิติศาสตร์

ไม่ว่าคุณจะรู้หรือไม่! แต่ผลของค่าอัตราส่วนต่างๆที่แสดงถึงประสิทธิภาพของระบบการลงทุนแต่ละรูปแบบนั้น (เช่น Payoff, Winning Ratio, Expectancy, etc…) ล้วนแล้วแต่ถูกวัดขึ้นมา จากกลุ่มของผลการเทรดหลายต่อหลายครั้งเข้าด้วยกัน และด้วยการที่ระบบการลงทุนหลายๆแบบนั้น ถูกสร้างและประเมิณผลขึ้นมาโดยใช้หลักการทางสถิติเข้ามาช่วย เซียนหุ้นหลายต่อหลายคนจึงได้กล่าวเอาไว้เสมอว่า ในการประเมิณผลของกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนใดๆนั้น (หรือแม้กระทั่งละทิ้งมันไป) เราจำเป็นต้องมีผลการเทรดอย่างน้อยที่สุด 30 ครั้ง เพื่อให้เกิดการสรุปผลของระบบการลงทุนที่น่าเชื่อถือออกมา หลายต่อหลายคนจึงอาจยังสงสัยกันอยู่ว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น จริงๆแล้วมันมีเหตุผลของมันอยู่พอสมควรครับ

30’ ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักเล่นหุ้นควรใส่ใจ

เหตุผลแรกก็คือ พฤติกรรมการกระจายตัวของความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นนั้น มักจะมีความแตกต่างกันอย่างมากเมื่อเรามีจำนวนการเทรด (Sample Size) ที่น้อยเกินไป แต่ในทางกลับกันแล้ว มันจะให้ผลสรุปที่คล้ายคลึงกันออกมาเมื่อเรามีจำนวนการเทรดที่มากจนถึงระดับหนึ่ง โดยที่พฤติกรรมการกระจายตัวของความน่าจะเป็นทั้งสองรูปแบบที่กล่าวมานั้น มักจะถึงจุดเปลี่ยนถ่ายเมื่อระดับของจำนวนการเทรดเข้าไกล้ 30 ครั้งนั่นเอง

สำหรับอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เมื่อเราได้ทำการสุ่มตัวอย่าง (ซื้อหุ้น) จากกลุ่มของประชากร (จำนวนสัญญาณการซื้อ-ขายที่เกิดขึ้นทั้งหมดของระบบ) และทำการวิเคราะห์ออกมานั้น หากว่าจำนวนของกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนการเทรดนั้นไม่มากเพียงพอ ทางสถิติแล้วเราจำเป็นที่จะต้องทำการหักลดค่าความผิดพลาดของมันทิ้งออกไปด้วย เพื่อให้ค่าที่ได้นั้นเกิดความเหมาะสมขึ้นมา ยกตัวอย่างหลักทางสถิติง่ายๆเช่น เมื่อเราได้ค่า Standard Diviation ของผลกำไรในระยะยาวออกมานั้น เราจะปรับค่าของมันด้วยการนำไปคุณด้วย root N/N-1 อีกครั้งหนึ่ง (ขออภัยที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ไม่ได้นะครับ) โดยที่ N คือจำนวนผลการเทรดที่สุ่มออกมา อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนการเทรดมากเกินกว่า 30 ครั้งขึ้นไปแล้วนั้น ค่าชดเชยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบที่น้อยลงจนเราอาจที่จะสามารถเพิกเฉยต่อมันไปก็ได้

จำนวนการซื้อขายหุ้นอย่างต่ำ 30 ครั้ง

ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม (เช่น เมื่อตลาดเริ่มเป็นขาลง สัญญาณต่างๆของหลายๆระบบก็อาจจะเริ่มเกิดอาการ Whipsaw หรือขาดทุนขึ้นมา) หากว่าเราได้ทดสอบหรือศึกษาระบบการลงทุนของเรามาอย่างดีแล้ว มันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องมีวินัยและความอดทนที่จะทำตามระบบไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอย่างน้อยเป็นจำนวน 30 ครั้ง นี่จึงเป็นที่มาของการที่ให้คิดถึงผลการในระยะยาวหลายๆครั้ง เพื่อให้กลไกทางสถิติที่เราออกแบบเอาไว้ได้ทำงานของมันอย่างเพียงพอนั่นเอง นอกจากนี้แล้ว เมื่อเราได้รู้ว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีผลการเทรดเป็นจำนวนอย่างต่ำมากถึงขนาดนี้ หวังว่าทุกคนคงจะให้ความใส่ใจกับเรื่องของ Money Management และการ Stop Loss กันมากขึ้น เพื่อที่จะได้อยู่รอดปลอดภัยในตลาดจนกว่าช่วงเวลาของการทำกำไรจะกลับมาถึงกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ Open-mouthed smile

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)