fbpx
บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น : William Eckhardt : วิทยาศาสตร์แห่งการเล่นหุ้น (ตอนที่ 2)

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น : William Eckhardt วิทยาศาสตร์แห่งการเล่นหุ้น ( ตอนที่ 2)


ETC FUND ของ Eckhart สุดยอดวิธีการเล่นหุ้น

มาพูดกันต่อถึงความคิดของ William Eckhardt เจ้าของ ETC Fund ชื่อดังคนนี้ในการเล่นหุ้นของเขาดีกว่านะครับคราวที่แล้วเขาพูดในเรื่องของการเล่นหุ้นด้วยระบบ กับ การเล่นหุ้นโดยอคติของตัวเราเอง จะเห็นได้ว่าเขาเป็นคนที่มีความเป็นนักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงมาก ไม่แปลกใจเลยที่ทำไมวงการนักเล่นหุ้นของอเมริกาถึงยกให้เขาเป็นต้นแบบผู้ที่นำพาการเล่นหุ้นไปสู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบจริงๆครับ วันนี้เขาจะพูดเรื่องอ่ะไรกันต่อ มาว่ากันต่อดีกว่าครับ


………

Q: คุณมักจะทำอะไรแตกต่างจากนักเล่นหุ้นคนอื่น ?

A: ผมมักจะให้ความสำคัญไปที่ Money Management มากกว่านักเล่นหุ้นคนอื่น จากประสบการณ์ความเจ็บปวดของผมซึ่งผม มองข้ามความสำคัญของมันไปในการเล่นหุ้นระยะแรกๆ สำรับผม Money Management สำคัญกว่า การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค และมันก็เป็นปัญหาที่จัดการได้ง่ายกว่าในการเล่นหุ้น


Q: คุณยอมเสี่ยงมากแค่ใหนในการเล่นหุ้นแต่ละครั้งของคุณ ? มีสูตรตายตัวใหม ?

A: คุณไม่ควรคิดที่จะเสี่ยงมากกว่า 2% ของพอรท์คุณในการเทรดหุ้นแต่ละครั้ง แต่อย่างไรซะคุณอาจจะเจ็บตัวมากกว่านั้นก็เป็นได้ถ้าตลาด เปิด Gap ลงมามากกว่าจุดขายของคุณ

ในกรณีของ bet size ( จำนวนหุ้นที่คุณวางแผนจะเทรด ) ถ้าคุณลอง plot กราฟแสดงผลลัพท์ระหว่างผลกำไรของการเล่นหุ้นกับขนาดของ จำนวนหุ้นที่คุณซื้อในแต่ละครั้ง คุณจะได้กราฟที่เหมือนคล้ายกับ ปลาวาฬหันหัวไปทางขวา ซึ่งทางด้านซ้ายของกราฟคุณจะเห็นว่ามันแทบจะเป็นแนวนอนเลย ในระยะนี้การเพิ่มขนาดของ bet size ของคุณจะทำให้ผลกำไรของคุณในการเล่นหุ้นดีขึ้น แต่หลังจากเลยระยะแรกนี้ไปแล้วกราฟที่ชันขึ้นจะเริ่มเอียงลงอีกครั้ง

นี่เป็นผลเนื่องมาจาก การขาดทุนในแต่ละครั้งจะมากขึ้นเกินไป และนั่นจะบังคับให้คุณต้องเทรดหุ้นให้ bet size เล็กลงเพื่อเป็นช่วยให้คุณเล่นหุ้นต่อไปได้ในกรณีที่เกิดการขาดทุนหลายครั้งติดต่อกัน เป้าหมายของคุณก็คือการปรับระดับ bet size ของคุณให้สมดุลที่สุดระหว่างกำไรและความเสี่ยงนั่นเอง

ดังนั้นปริมาณของหุ้นที่เราควรซื้อคือสิ่งที่คุณไม่ควรจะปรับแต่งมันเท่าไหร่หรอก การปรับขนาดของมันควรจะทำให้อยู่ในระยะก่อนจะถึงจุดหักเหของกราฟลงนั่นเอง


Q: คุณคิดว่าความฉลาดมีผลต่อการเล่นหุ้นมากใหม ?

A: ผมไม่ค่อยจะเห็นความเกี่ยวโยงระหว่างความฉลาดกับผลการเล่นหุ้นมากเท่าไหร่นัก นักเล่นหุ้นชั้นเซียนบางคนอาจจะมีความฉลาดมากกว่าคนอื่น แต่หลายคนไม่ คนที่ฉลาดมากๆส่วนมากมักจะเป็นนักเล่นหุ้นที่ห่วยแตก! ความฉลาดปานกลางก็เพียงพอแล้วกับการเล่นหุ้น สิ่งสำคัญกว่านั้นคือความฉลาดทางอามรณ์(EQ)ต่างหาก


Q: ยังมีพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์อีกใหมที่คุณคิดว่ามีผลต่อความล้มเหลวในการเล่นหุ้น ?

A: มีบางอย่างที่ผมเรียกมันว่า “การทำสิ่งที่ตรงกันข้าม ( countertrend )” มีบางสิ่งบางอย่างที่มีผลต่อกระบวนการทางความคิดและอารมณ์ของคนซึ่งทำให้คนเล่นหุ้นมีพฤติกรรมการทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “ระบบการเล่นหุ้น”ของเขา เช่นการที่คนเรามักจะอยากซื้อของราคาถูก และอยากขายราคาแพง และนี่คือสิ่งผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการทำตรงกันข้ามขึ้นมา เพราะ การที่เราจะมองว่าถูกหรือแพงนั้น จะต้องมีบางสิ่งบางอย่างมาเปรียบเทียบ คนเราส่วนใหญ่มักจะมองความถูกแพงจากการที่ราคาของมันเปลี่ยนแปลงจากความเคยชินของเขา และนี่เป็นมุมมองที่ทำให้เราเกิดการกระทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่ควรทำ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาขึ้นโดยที่พวกเขามองว่ามันจะต้องกลับมาสู่ระดับที่เขาเคยชิน และนั่นคือประตูสู่ความตายของนักเล่นหุ้น ! (เช่นเมื่อใหร่ที่หุ้นทำ New High หรือ New Low จะมีคนส่วนมากยอมรับไม่ได้และไม่อยากยอมรับว่าขณะนี้ แนวโน้มของหุ้นได้เปลี่ยนไปอีกครั้งแล้ว ของที่เคยอยู่ตรงนี้จะไม่อยู่ที่เดิมอีกต่อไปแล้ว )


Q: มีอ่ะไรอีกใหมที่เป็นสิ่งกีดกั้นความสำเร็จของนักเล่นหุ้น ?

A: สิ่งที่มีผลสำคัญจริงๆคือ ผลของการเล่นหุ้นในระยะยาวจาก “เทคนิคการเล่นหุ้น” “ระบบ” และ “การเล่นหุ้นของเราต่างหาก” แต่ในทางจิตวิทยาแล้วสิ่งที่ดูจะทำให้คนเราหลงคิดว่ามันเป็นสิ่งสำคัญคือการที่ หุ้นที่เราได้ซื้อไปตอนนี้ทำกำไรได้รึปล่าวในตอนนี้ กำไรขาดทุนจากหุ้นที่เรามีอยู่ในพอร์ทตอนนี้ดูจะกลายเป็นสิ่งสำคัญกว่าสถิติโดยรวมที่เราได้ test เอาไว้ มันจึงทำให้เป็นการง่ายที่เราจะถูกลวงให้ทำทุกอย่างให้หุ้นที่มีอยุ่ขณะนี้มีกำไรขึ้นมา

สมมุติว่าสถิติโดยรวมในระยะยาวของ “ระบบการเล่นหุ้น” ของคุณแสดงให้เห็นว่ามันจะสร้างกำไรให้คุณในระยะยาวเอง สิ่งที่เป็นเหมือนบาป 2 ประการในการเล่นหุ้นก็คือ การที่คุณปล่อยให้เกิดการขาดทุนมากเกินไป และการชิงทำกำไรก่อนเวลาอันเหมาะสม บาป2อย่างนี้เกิดจากความอยากที่เราพยายามจะทำให้หุ้นที่เรามีอยู่เกิดกำไรขึ้น และนี่จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อผลการเล่นหุ้นในระยะยาวต่อไป ( เช่นเวลาที่ขาดทุนแล้วไม่ยอมทำอะไรเพราะกลัวจะต้องเสียเงิน นั่นทำให้เราติดหุ้นเงินจม เสียโอกาศในการเดินหน้าต่อไปนั่นเองครับ )


Q: จากการที่คุณได้เห็นทั้งนักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลว คุณคิดว่าอะไรคือลักษณะที่เห็นได้ชัดจากคนสองกลุ่มนี้ ?

A: นักเล่นหุ้นที่อยู่รอดได้ในตลาดหุ้นนั้นสามารถที่จะหลีกเลี่ยง “ปรากฏการณ์ก้อนหิมะ” ( snowball ) ซึ่งมีผลจากการขาดทุน จนทำให้นักเล่นหุ้นนำอารมณ์มาใช้ในการตัดสินใจจนทำให้เกิดการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ถ้าคุณไม่รู้สึกเจ็บปวดจากการขาดทุนคุณก็จะเหมือนกับคนที่เกิดมาแล้วไม่มีประสาทรับความเจ็บปวด ถ้าให้พวกเขาวางมือบนกระทะร้อน มือของพวกเขาต้องใหม้เป็นถ่านแน่ๆ พวกเขาไม่มีทางที่จะอยู่รอดบนโลกใบนี้ เช่นเดียวกับในโลกการเงิน ถ้าการขาดทุนไม่ทำให้คุณเจ็บปวด คุณก็คงจะไม่สามารถอยู่รอดในโลกการเงินได้เช่นกัน

ผมรู้จักกับเศรษฐีพันล้านบางคนที่เริ่มเล่นหุ้นจากเงินมรดกที่เขามี แต่ในที่สุดพวกเขาแต่ละคนก็ต้องหมดตัวไปตามๆกันๆ พวกเขาแพ้เพราะเขาไม่เจ็บปวดจากการขาดทุน พวกเขาคิดว่าเขามีเงินเขารับการขาดทุนได้ เพราะฉะนั้นคุณควรจะเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่จะเสียเงินอย่ามากมายไปไม่ได้ และผมก็ค่อนข้างกล้าที่จะพนันถึงความสำเร็จจากคนที่เริ่มเล่นหุ้นจากการมีเงินจำนวนน้อยมากกว่าพวกเศรษฐีเหล่านี้ด้วย


ที่สุดแล้วความพยายามจะแปลบางส่วนของบทสัมภาษณ์ให้เสร็จในตอนนี้แต่ก็ทำไม่ได้อีกแล้วครับยังไงเดี๋ยวคงจะต้องไปต่อในบทสัมภาษณ์เซียนหุ้น William Eckhardt ตอนที่ 3 (ตอนสุดท้าย) กันนะครับ เราจะฟัง William Eckhardt ว่ากันต่อว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเราอย่างไรให้กลายเป็นนักเล่นหุ้นชั้นเยี่ยมกันครับเจอกันคราวหน้าที่ แมงเม่าคลับ.คอม ครับผม

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)