fbpx
บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น : Paul Mulvaney กับระบบการลงทุนแบบ Trend Following

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

MCM Capital

หลักการของ Trend Following และระบบการลงทุนของกองทุน MCM

หลังจากมีเรียกร้องถึงบทสัมภาษณ์เซียนหุ้นที่ไม่ได้อัพเดทมานาน วันนี้ผมเลยตัดเอาส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ของ Paul Mulvaney ผู้ก่อต้องกองทุน Mulvaney Capital Management (MCM) มาให้อ่านกัน สำหรับรายละเอียดนั้นมือใหม่อาจจะงงๆหรือต้องไปไล่อ่านบทความเก่าๆดูบ้าง แต่เชื่อว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆคนครับ

แนวคิดเกี่ยวกับระบบการลงทุนของ MCM เป็นอย่างไรครับ?

ระบบการลงทุนของเรานั้นนั้นได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ความเชื่อพื้นฐานของเราก็คือระบบเศรษฐกิจของโลกนั้นจะค่อยๆปรับตัวไปตามสภาวะพื้นฐานของมันทีละน้อยเมื่อเวลาผ่านไป และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นก็มีหลักฐานปรากฏชัดเจนอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในประวัติศาสตร์หรือการทำมาค้าขายของมนุษย์ นอกจากนี้แล้วการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, เศรษฐกิจหรือสังคม ก็คือสิ่งที่จะเป็นตัวจุดชนวนให้ราคาของตลาดค่อยๆปรับตัวไปตามกาลเวลา ยกตัวอย่างเช่น การเติบโตและล่มสลายของอนาจักรโรมันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นภายในเวลาแค่วันเดียว แต่มันเกิดขึ้นผ่านกาลเวลาเป็นร้อยๆปีๆ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ตลาดนั้นไม่ได้เคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งเป็นเส้นตรง พวกมันหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเดินทางผ่านความผันผวนและแรงต้านทานที่จะเกิดขึ้น และนั่นก็คือสิ่งที่เราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับมันเพื่อที่จะพยายามหาหนทางจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงปราถนาแต่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องยากนักที่เราจะสามารถนำระบบการลงทุนแบบ Trend Following มาใช้ร่วมกันเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกภายในระยะยาวออกมาได้ นอกจากนี้แล้ว มันก็ยังมีระบบการลงทุนแบบ Trend Following ที่เป็นที่รู้จักทั่วๆไปที่สามารถจะให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ (แม้ว่าจะมีความผันผวนสักหน่อย) ในระยะยาวออกมาเช่นกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงพอจะเชื่อได้ซานตาคลอสนั้นมีอยู่จริงในตลาดนั่นเอง

โชคร้ายพอสมควรที่จากหลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น  เราพบว่าหลายๆคนไม่สามารถที่จะยอมรับต่อธรรมชาติของผลตอบแทนจากกลยุทธ์ Trend Following ได้เลย และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Directional Trading ก็เป็นสิ่งที่ขายความคิดได้ยากกว่ากลยุทธ์ของ Hedge fund จำพวก Market Neutral Equity เป็นอย่างมาก นั่นเพราะนักลงทุนโดยทั่วไปมองว่านักเก็งกำไรนั้นเป็นพวกที่มัวแต่หากินกับการเคลื่อนที่ของราคาในระยะสั้นๆซึ่งเกิดขึ้นจากการไหลของเม็ดเงินจากพวกสถาบันการเงินใหญ่ๆ นอกจากนี้แล้ว นักลงทุนแบบ Trend Following นั้นเป็นพวกประเภทชอบขายราคา Bid และซื้อที่ราคา Offer ในทันทีที่เขาต้องการเคลื่อนไหว และนั้นทำให้หลายๆคนรับมันไม่ได้เช่นกัน ผมจึงพบว่าในที่สุดแล้ว การที่ผมยังเลือกที่จะใช้กลยุทธ์เช่นนี้นั้นไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการยอมรับที่สุด แต่เป็นเพราะประสิทธิภาพในการทำกำไรและความท้าทายในการปรับใช้มันเสียมากกว่า

เมื่อไหร่และเหตุใดที่ทำให้คุณตัดสินใจที่เลือกเส้นทางของการเป็นนักลงทุนอย่างเป็นระบบ (Systemetic Trader)?

มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆเกิดขึ้นทีละน้อย ในช่วงเริ่มแรกนั้นผมเองพยายามที่จะทำกำไรด้วยแนวทางการวิเคราะห์ทางพื้นฐานเป็นหลัก แต่หลังจากนั้นไม่นานผมก็พบว่าการรวบรวมเอาข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วนนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆและแทบเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้แล้วผมก็ไม่ได้มีความถนัดที่จะทำเช่นนั้นสักเท่าไหร่ (Paul Malveney จบการศึกษาในสาขา Computer Science และคณิตศาสตร์แต่ไม่ได้จบเศรษฐศาสตร์) หลังจากนั้นผมก็ได้ยินคำพูดของเจ้านายผมคนหนึ่งว่า สิ่งที่สำคัญคือการเพ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ “กำลัง” เกิดขึ้น แทนที่จะเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นจากความคิดของคุณ และแน่นอนว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยเฉพาะในแนวทางของ Trend Following นั้นก็คือกลยุทธ์ที่เพ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ “กำลัง” เกิดขึ้นเป็นหลัก นั่นทำให้มันเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติจริงๆนั่นเอง ผมอยากให้คุณนึกถึงคำพูดของ John Maynard Keynes ที่ว่า “ตลาดนั้นสามารถที่จะไร้เหตุผลได้อย่างยาวนานกว่าที่คุณจะทนกับมันได้” อยู่เสมอ

ต่อมาภายหลังจากที่ผมได้มีประสบการณ์จากเก็งกำไรตามหลักการทางเทคนิคนั้น ผมก็ค่อยๆได้เรียนรู้และโน้มเอียงไปสู่ความเชื่อที่ว่า ประสิทธิภาพของการใช้กลยุทธ์ทางเทคนิคที่สูงสุดนั้นคือการใช้มันอย่างเป็นระบบ (Systemetic Trading) เนื่องจากเป็นเรื่องที่ชัดเจนเหลือเกินว่า คอมพิวเตอร์นั้นมีความสามารถที่จะวิเคราะห์และจดจำข้อมูลต่างๆได้รวดเร็วกว่าพวกเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี 1995 ผมจึงได้เริ่มพัฒนาระบบซึ่งกลายเป็นระบบของกองทุน MCM ในปัจจุบันขึ้นมา โดยระบบที่ว่านี้จะประมวลผลและมีกระบวนการคิดตามหลักของ Technical Analysis และความได้เปรียบของการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็คือเรื่องของ “วินัย” และความ “เที่ยงตรง” ซึ่งเป็นสองปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเก็งกำไรเป็นอย่างมากนั่นเอง

อะไรคือสภาพตลาดที่มีความเหมาะสมต่อกลยุทธ์เช่นนี้ที่สุด?

เนื่องจากเราได้ทำการซื้อขายกระจายไปในตราสารหลากหลายชนิด (Diversified Portfolio) กลยุทธ์ของเราจึงไม่ได้ให้ผลตอบแทนเป็นวัฐจักรแต่มีประสิทธิภาพที่จะให้กำไรที่งดงามออกมาในช่วงเวลาใดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากว่าไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินเป็นพิเศษ แต่ราคาน้ำมันหรือถั่วเหลืองอาจจะกำลังเกิดแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้นมาก็ได้

สำหรับมุมมองต่อสภาพตลาดในแง่ของตราสารหรือหุ้นเป็นตัวๆไปนั้น เราก็มักที่จะทำกำไรได้อย่างงดงามเมื่อตราสารนั้นๆเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและชัดเจนขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ค่าเงิน Euro อาจวิ่งจากราคา 0.90 ไปถึง 1.15 ก็ได้และจากการที่ราคาของมันไม่ได้เคลื่อนที่และจบลงในวันเดียวนั้น ในกรณีที่ดีที่สุดเราจึงต้องการที่จะเห็นมันมีแนวโน้มที่ชัดเจนและราบรื่นโดยมีความผันผวนอยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากความผันผวนที่รุนแรงเกินไปไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับเรานัก และในทางตรงกันข้ามแล้วความสงบนิ่งหรือตลาด Side-way ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเท่าไหร่เช่นกัน

คนบางคนมักที่จะมีมุมมองต่อกลยุทธ์การลงทุนแบบ Trend Following ว่าเป็นการเล่นแบบ Long a Dynamic Straddle เนื่องจากเมื่อไหร่ที่ตลาดเริ่มเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นเราจะเริ่มทำการเข้าซื้อ (Long Position) แต่เมื่อตลาดเกิดเคลื่อนลงมาเราก็จะเริ่มขายชอร์ท (Short Position) แทนนั่นเอง โดยในการจะทำกำไรก้อนใหญ่ออกมาได้นั้น เราต้องการที่จะเห็นการเคลื่อนไหวนั้นดำเนินต่อไปให้ยาวนานจนถึงระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว และสำหรับกองทุน MCM ของเรานั้น เราก็มักที่จะเลือกใช้กลยุทธ์ในคาบเวลาที่ยาวนาน (Long horizon) ที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งรบกวน (Random Noise) ในขณะที่แนวโน้มใหญ่นั้นกำลังเกิดขึ้นมา

อะไรคือสิ่งที่มีนัยคัญต่อการตัดสินใจของนักออกแบบระบบการลงทุนบ้าง?

ในความเห็นของผมแล้วคือคาบเวลา (Time Frame), ขนาดการลงทุน (Position Sizeing) และกลไกของการกระจายความเสี่ยง (Diversification Mechanism)

ผลการทดสอบและวิจัยของผมได้บ่งชี้อย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเลยว่าเราควรจะใช้กลยุทธ์แบบ Trend Following ในคาบเวลาระยะยาว เนื่องจากเราจำเป็นที่จะต้องถือการลงทุนของเราให้ยาวนานกว่าช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อจะกลบค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่จะเกิดขึ้น ระบบ Long Term Trend Following นั้นถูกออกแบบมาเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวแบบสุ่มที่เกิดขึ้นในตลาด เพื่อให้ระดับอัตราส่วนของความผันผวนในระยะสั้นต่อแนวโน้มใหญ่นั้นลดลง ดังนั้นแล้วการซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในระยะยาวก็คือการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเสียงรบกวนต่างๆของตลาด นอกจากนี้แล้วความเบี่ยงเบนของความผันผวนที่เกิดขึ้นกับระบบในระยะยาวนั้นก็ยังจะน้อยกว่าระบบในระยะสั้นอีกด้วย นั่นจึงทำให้ระบบระยะยาวมักมีความสเถียรกว่านั่นเอง และในการนำระบบไปใช้จริงๆนั้น ระบบส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่มักเป็นระบบซื้อขายระหว่างวัน (Intra-Day) ตามมาด้วยคาบเวลาที่ค่อยๆยาวขึ้นเรื่อยๆ นั่นทำให้เรากำลังไล่ล่าโอกาสซึ่งหลายๆคนไม่ได้กำลังพยายามไล่ล่ากันอยู่อีกด้วย

สำหรับขนาดการลงทุน (Position Size) นั้นคือสิ่งที่จะถูกกำหนดจากความความผันผวนของตลาดออกมาและมันก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ยกตัวอย่างเช่นเราจะต้องพิจารณาว่า สมมุติว่าพอร์ทของเราโตขึ้น 10% แล้ว เราจะต้องตัดสินใจว่าเราจะทำการเพิ่มความเสี่ยงของขนาดการลงทุนขึ้นอีก 10% จากเดิมหรือไม่ และคำตอบนั้นก็เป็นไปได้อย่างหลากหลายเช่นกัน

ในเรื่องของการกระจายความเสี่ยง (Diversification) นั้น สิ่งที่ได้รับการยอมรับและพิสูจน์ออกมาแล้วก็คือการพยายามเลือกตราสารที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน (Unccorelated) และซื้อขายกันในน้ำหนักการลงทุนเท่าๆกัน แต่โชคร้ายที่มันมีตราสารอยู่เพียงไม่กี่ประเภทที่จะไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันสักเท่าไหร่ ดังนั้นแล้วแนวทางที่เราใช้ก็คือการนำหลักของการบริหารพอร์ทโฟลิโอ (Portfolio Theory) มาใช้ในการคำนวนถึงขนาดของการลงทุนในแต่ละตราสารให้มีความเหมาะสมที่สุด และเรื่องจากเราทำการลงทุนในคาบเวลาระยะยาว เราจึงประเมิณความเกี่ยวเนื่องในระยะยาวของพวกมันออกมา และเมื่อความเกี่ยวเนื่องของพวกมันเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

คุณมีวิธีการอย่างไรในการขายทำกำไร และกลไกในการตัดขาดทุนของคุณเป็นเช่นไร?

ความจริงแล้วกลยุทธ์ของเราไม่มีการขายทำกำไร (Profit Taking) สักเท่าไหร่ เรามักจะทำการขายออกจากจุดตัดขาย Stop Loss ของเราเท่านั้น เนื่องจากการพยายามขายทำกำไรนั้นมักจะไปขัดขวางศักย์ภาพของกำไรที่จะเกิดขึ้นมา โดยในทางทฤษฏีนั้น สำหรับทุกๆตราสารที่เราเข้าไปลงทุนนั้น จุดตัดขาดทุนของเราจะถูกคำนวนจากความน่าจะเป็นและตำแหน่งของจุดตัดขาดทุนในแต่ละระดับราคาของตราสารหรือตลาดนั้นๆ นี่คือสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถที่จะทำการคาดการณ์ถึงการขาดทุนที่จะเกิดขึ้นจากจุดขายในแต่ละประเภทออกมา และช่วยให้เราสามารถวางแผนจัดการตารางเวลาในการตัดขายมันออกมาได้นั่นเอง

คุณเคยแหกระบบของคุณบ้างหรือไม่?

ไม่มีทาง ระบบของผมนั้นถูกสร้างขึ้นจากการค้นคว้าถึงรูปแบบที่มีความน่าเชื่อถือในเชิงสถิติจากพฤติกรรมของราคาในอดีตขึ้นมา ผมมักจะมองถึงสิ่งต่างๆเป็นค่าเฉลี่ยและอัตราส่วนร้อยละแทนที่จะเป็นผลแต่ละครั้งโดดๆ หากว่าผมแหกระบบนั่นก็หมายถึงผมกำลังโบกมือลาจากสิ่งที่ผมได้ค้นคว้าและทดลองมาอย่างหนักแน่ๆ

ฐานข้อมูลของราคาที่เกิดขึ้นในอดีตสามารถเพียงที่จะช่วยให้เราเห็นถึงรูปแบบต่างๆของพฤติกรรมราคาที่เคยเกิดขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราเองไม่ได้มีรูปแบบพฤติกรรมของราคาที่เกิดขึ้นในช่วงของสงครามอยู่มากเท่าไหร่นั้น นั่นจึงทำให้ระบบจำเป็นต้องเกิดการขาดทุนขึ้นมาจากเหตุการณ์หรือรายละเอียดที่พวกมันไม่เคยเห็น ดังนั้นแล้วการขาดทุนหรือ Drawdown จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้เลย และจากการที่เราตระหนักได้ว่า Drawdown นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มันจึงช่วยให้ผมสามารถที่จะยึดติดและทำตามระบบของผมได้เสมอมา นอกจากนี้แล้ว มันยังช่วยให้ผมได้ใช้ความพยายามอย่างหนักในการที่จะออกแบบกลไกการหยุดการลงทุนของระบบเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเกิดการพังทลายลงมาอีกด้วย ระบบการลงทุนของผมนั้นธรรมดาๆมากๆ แต่นั่นก็คือจุดแข็งของมันเอง

อะไรคือบุคลิกลักษณะของนักเก็งกำไรที่ดีบ้าง?

แน่นอนว่าสมาธิที่จดจ่ออยู่กับรายละเอียดต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ความเที่ยงตรงในการตัดสินใจและความสามารถที่จะรักษาความเที่ยงตรงเอาไว้ภายใต้ความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น ถือเป็นบุคลิกลักษณะที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้เลยทีเดียว และถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นจะมีความเป็นวิทยาศาสตร์จนสามารถที่จะโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ต่างๆได้ แต่กำไรและการขาดทุนที่เกิดขึ้นก็ยังจะทำให้คนเราขาดความหนักแน่นมั่นคงไปอยู่เช่นเดิม ผมเองสามารถพนันได้เลยว่าจะมีผู้คนที่มีความสามารถในออกแบบระบบการลงทุนที่ดีต่างๆออกมาได้มากกว่าคนที่จะสามารถรักษาความเที่ยงตรงของพวกเขาเอาไว้ นั่นก็เพราะมันเป็นเรื่องของการสลัดเอา Ego ของคุณทิ้งไป และหากว่าคุณยังคงมัวแต่ห่วงอยู่กับเรื่องของความถูกต้องแม่นยำจากระบบการลงทุนของคุณ หรือห่วงกังวลว่าคนอื่นๆจะคิดอย่างไรกับคุณอยู่ คุณก็คงจะไม่มีทางรักษา “วินัย” ของคุณเอาไว้ได้อย่างแน่นอน

Mulvaney Capital Management : Global Diversified Program Performance From IASG

ส่วนนี้เป็นของแถมให้ดูกันว่าแม้แต่กองทุน MCM ก็ยังต้องเจอกับ Drawdown เป็นช่วงๆ (ธรรมชาติของผลตอบแทนจากระบบ Trend Following) และไม่จำเป็นต้องทำกำไรให้ได้ทุกเดือนก็สามารถที่จะสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกในระยะยาวได้ ใครอยาดูของกองอื่นเพิ่มลองเข้าไปที่ http://www.iasg.com ได้เลยนะครับ

Year Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec YTD
2011 2.07 9.78 -4.62 6.07 -11.82 -7.41 11.15 1.59 -4.2 -14.14     -14.03
2010 -3.84 -7.15 -5.15 2.02 -8.77 0.53 -12.03 14.59 16.46 22.29 -5.36 25.3 34.9
2009 1.6 -0.03 -3.36 -5.51 -1.3 -6.81 -0.53 10.85 1.32 -7.86 10.7 -3.19 -5.89
2008 21.65 28.86 -7.96 -8.58 5.35 8.51 -18.78 -6.73 11.58 45.49 6.97 5.3 108.87
2007 0.56 -5.18 -8.82 2.59 4.7 4.85 -16.89 -19.4 3.92 13.72 -8.59 8.47 -23.14
2006 11.09 -2.7 13.05 11.46 -4.27 -6.1 -5.2 1.95 1 -0.13 0.56 1.6 21.94
2005 -4.28 0.54 2.3 -9.28 -4.08 5.32 6.62 2.78 13.57 -5.64 15.27 8.35 32.34
2004 4.19 8.45 2.37 -11.5 -6.99 -0.73 -0.41 -6.21 7.76 0.76 9.63 -4.94 -0.1
2003 13.2 7.22 -12.83 1.45 7.64 -7.61 -6.33 0.07 6.66 15.32 -0.27 5.35 29.3
2002 0 0 -7.52 1.55 6.75 7.38 5.95 5.44 5.13 -7.73 -5.08 7.8 19.37
2001 -9.62 18.76 13.46 -15.25 -0.66 5.39 -1.26 0 0 0 0 0 6.69
2000 -5.02 2.52 -8.4 -0.27 6.97 1.55 -1.25 12.68 -4.36 1.96 9.05 8.9 24.51
1999         -0.29 -0.14 -2.22 2.13 -4.81 -4.8 7.01 4.84 1.09

Compound RoR: 15.19%, Average RoR: 18.87%, Worst Loss: –23.14%

PAST PERFORMANCE IS NOT NECESSARILY INDICATIVE OF FUTURE RESULTS. THE RISK OF LOSS IN TRADING COMMODITY FUTURES, OPTIONS, AND FOREIGN EXCHANGE (“FOREX”) IS SUBSTANTIAL.

STRATEGY DESCRIPTION

Summary

The Mulvaney Capital Management Global Diversified Program is a long term systematic trend following program, covering all the major financial and commodity futures markets worldwide. Program returns have historically exhibited low correlation to traditional stock and bond markets. Access to the Program is offered via The Mulvaney Global Markets Fund (minimum THB 3,130,970.61) and managed accounts (minimum THB 156.55million).

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)